ความฉลาดรู้ทางอาหารของนิสิตนักศึกษาครูคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ

ผู้แต่ง

  • สุวิมล อุไกรษา สาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นฤมล ศราธพันธุ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความฉลาดรู้ทางอาหาร, นิสิตนักศึกษาครูคหกรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความตระหนัก การปฏิบัติเรื่องความฉลาดรู้ทางอาหาร และความสัมพันธ์ของความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติเรื่องความฉลาดรู้ทางอาหารของนิสิตนักศึกษาครูคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ  กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษาครูคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 330 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 79.1 มีความตระหนักในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.8 และมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 68.2 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติเรื่องความฉลาดรู้ทางอาหาร พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเรื่องความฉลาดรู้ทางอาหารเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 กล่าวคือ หากนิสิตนักศึกษามีความรู้เรื่องความฉลาดรู้ทางอาหารดี จะมีการปฏิบัติเรื่องความฉลาดรู้ทางอาหารดีด้วย ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และความตระหนักเรื่องความฉลาดรู้ทางอาหาร กับการปฏิบัติเรื่องความฉลาดรู้ทางอาหาร พบว่ามีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 หากนิสิตนักศึกษามีความรู้และความตระหนักเรื่องความฉลาดรู้ทางอาหารดี จะมีการปฏิบัติเรื่องความฉลาดรู้ทางอาหารดีด้วย

References

Charlebois, Music, & Faires. (2021). The Impact of COVID-19 on Canada’s Food Literacy: Results of a Cross-National Survey. International Journal of Environmental Research and Public Health 18, 5485: 1-13. https://doi.org/10.3390/ ijerph18105485.

Karnjanapiboonwong, A., Kamwangsanga, P. & Kaewta, S. (2020). Situation Report of NCDs, Diabetes, High Blood Pressure and Related Risk Factors B.A. 2562. Retrieved from https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf/ [in Thai].

Krejcie, R., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 30(3), 607-610. Cited in Gail, J. (2002). Research methods for public administrators. CT: Greenwood Publishing Group, Inc.

Nagata, J. M., Ganson, K. T., Whittle, H. J., Chu, J., Harris, O. O., Tsai, A. C., & Weiser, S. D. (2019). Food Insufficiency and Mental Health in the U.S. During the COVID-19 Pandemic. American Journal of Preventive Medicine 60(4): 453-461.

Nerman, D. (2015). Food Education the Law in Japan. Retrieved Jan 8, 2022, Website: http://www.cbc.ca/news/ health/food-education-the-law-in-japan-1.2894279.

Pendergast, D., Garvis, S., & Kanasa, H. (2011). Insight from the Public on Home Economics and Formal Food literacy. Family & Consumer Science Research Journal 39(4), 415-430.

Pendergast, D., & Dewhurst, Y. (2012). Home Economics and Food Literacy – An International Iinvestigation. Retrieved April 20, 2018, http://www98.griffith. edu.au/dspace/bitstream/handle/10072/49542/79938_1.pdf?sequence=1.

The Giessen Declaration. (2005). Public Health Nutrition. September 2005; 8(6A): 783-786.

Ukraisa, S. (2017). Food Literacy: New Paradigm and Approach to Develop Learning for Pre-Service Home Economics Teachers. Doctor of Philosophy (Population Education), Faculty of Graduate Studies, Mahidol University.

Ukraisa, S. (2020). Report of E-Learning for Food Literacy Learning Management. Faculty of Education, Kasetsart University. (Unpublished manuscript). [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31