ลักษณะผู้เรียนกับแนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์: กรณีศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงหลักสูตรและการสอน วิชาเอกปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คำสำคัญ:
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, ลักษณะผู้เรียน, แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและแนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่สอดคล้องกับลักษณะของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงหลักสูตรและการสอน วิชาเอกปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้วยวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูล คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงหลักสูตรและการสอน วิชาเอกปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ (แผน ก) หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ (แผน ข) จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์และการสังเกต และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฎว่า ลักษณะของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงหลักสูตรและการสอน วิชาเอกปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายได้เป็น 4 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 ผู้มุ่งงาน มีความกระตือรือร้นมาก มุ่งงานให้สำเร็จ แนวทางการให้คำปรึกษา คือ วางแผนงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาตั้งเป้าหมายการทำงานและจัดการบริหารเวลาตนเองได้ ลักษณะที่ 2 ผู้ประสานสัมพันธ์ ชอบเข้าสังคม ชื่นชอบงานที่เปิดโอกาสให้ประสานงานและได้พูดคุยกับคนอื่นๆ แนวทางการให้คำปรึกษา คือ จัดให้มีรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่ทำให้ได้เจอเพื่อนคนอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดจากกันและกัน ลักษณะที่ 3 ผู้น้อมรับ เข้ากับคนได้ง่าย ขี้เกรงใจ ชอบการทำงานเป็นกลุ่ม กลัวการตำหนิ แนวทางการให้คำปรึกษา คือ อาจารย์เป็นผู้เข้าหาและคอยติดตามงานอย่างต่อเนื่อง โดยไม่กดดัน มอบหมายงานทีละขั้น และ จัดให้มีรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม และลักษณะที่ 4 ผู้รอบคอบ เป็นคนมีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ ชอบงานที่ต้องใช้ความคิด แนวทางการให้คำปรึกษา คือ ช่วยสะท้อนในสิ่งที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ และให้ความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่นักศึกษายังขาดความเข้าใจ
References
Buajeen, A., Boonsri, N., Tantatsanawong, P., Paiwthayasiritham, C., & Nilvisase, S. The level of factors which affect the duration of the study for graduate students, Silpakorn University. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(3), 1489-1502. [In Thai]
Butwong, S. (2022). Factors affecting the success of thesis writing of graduate students, Faculty of Science, Mahasarakham University. Mahamakut Graduate School Journal, 20(1), 86-96. [In Thai]
Disc Profile. (n.d.). DiSC styles. https://www.discprofile.com/what-is-disc/disc-styles
Disc Profiles 4u. (2022). DISC explained. https://www.discprofiles4u.com/pages/disc-explained
DISC Insights. (2022). DISC personality styles. https://discinsights.com/disc-personality
Dominguez, R. (2006). Completing the dissertation: It’s not only about academics. College Teaching Methods & Styles Journal. 2(2), 21-24.
Equitable Education Research Institue. (2022, March 2). Understanding learners’ contexts. https://research.eef.or.th/empathy/ [In Thai]
Gamegade, W. (2010). Research methodology in behavioral sciences (3rd Edition). Bangkok: Chulalongkorn Printing Press.
James, R., & Baldwin, G. (1999). Eleven practices of effective postgraduate supervisors. Australia: Centre of the Study of Higher Education.
Khotsumart, D. & Apipalakul, C. (2012). Factors affeting graudation periods of graudate student, Khon Kaen Univesity. Journal of Education Khon Kaen University Gradate Studies Research. [In Thai]
Mind Tools Content Team. (2022). The DiSC Model. https://www.mindtools.com/aussi4e/the-disc-model
Ngamjongulgij, W. (2019, July). Understanding students in digital age using DISC model. In Sirinthorn Sinjindavong (Ed.) Proceedings of exhibition in teaching and learning (pp.157-173). Teaching and Learning Support and Development Center, Sripatum University. https://issuu.com/tlcspu/docs/proceedings_ of_exhibition_in_teaching___learning_2 [In Thai]
Notifications of the Commission on Higher Education Standards Regarding Standard Criteria for Graduate Studies Programs B.E. 2022. (2562, 27, September). Royal Thai Government Gazette. Book 139. Special chapter 212. p. 21-32.
Ritcharoon, P. (2020). Successful thesis management. STOU Educational Journal, 13(2), 1-14. [In Thai]
Thanwisai, S. & Ruengtragul, A. (2014). Effects of perfectionism and support of adviser on graduate students’ thesis progress with multiple mediators. An Online Journal of Education, 9(2), 577-590. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20427. [In Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)