การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • สุธิดา ทองคำ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน , ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน และ 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานหลังการใช้รูปแบบของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายที่เรียนรายวิชาเคมีวิเคราะห์ จำนวน 11 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน และ
2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยพบว่า

1) รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ
2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 ขั้นทำความเข้าใจและค้นหา ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและสรุปข้อมูล ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ และขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอและประเมินผล 4) การวัดและประเมินผลและ 5) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล

2) หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีนักศึกษามีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในระดับปานกลาง

References

American Association for the Advancement of Science [AAAS]. (1993). Benchmarks for Science Literacy. Oxford University Press.

Asay, L.D., & Orgill, M. (2010). Analysis of essential features of inquiry in articles published in The Science Teacher. 1998 – 2007. Journal of Science Teacher Education, 21(1), 57-79. https://doi.org/10.1007/s10972-009-9152-9

Dewey, J. (1933). How we think:A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educational Process. DC Health.

Fakkao, S. (2000). Student-centered learning and instruction management. Aimphan.

Kanlayaprasit, K. (2015). 5 Essential features of Inquiry [Unpublished manuscript]. Science Education Center Srinakharinwirot University. http://sciedcenter.swu.ac.th/Portals/25/Documents/News/5 Essential features of inquiry_Kamonwan.pdf?timestamp=1434440007462

Klopfer, L. E. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw–Hill hook company.

Kruse, K. (2007). Instructional design. http://www.cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm.

La-eadon, K., Sangsila, A., & Lomarak, T. (2021). Learning process in accordance with constructivist theory to utilize local materials as mushroom substrates and scientific process skills of general science students program, Rajabhat Buriram University. RMUTSB Acadamic Journal (Humanities and Social Sciences), 6(1), 125-135.

Maneesri, J., & Arjnarong, S. (2021). The Effect of Practice-based Learning on the Development of Scientific Instruments Use Skills among Undergraduate Students in Food Science and Nutrition Program. Journal of Education and Innovative Learning, 1(3), 253 – 267.

Pedaste, M., Mäeots, M., Jong, T.De., Siiman, L.A., Riesen, S.van., Kamp, E., Manoli, C.C., Zacharia, Z.C., & Tsourlidaki, E. (2015). Phases of inquiry-based learning: Definitions and the inquiry cycle. Educational Research Review, 14, 47-61. https://doi.org/10.1016/j.edurev.2015.02.003

Prodigy (2017). Inquiry-based learning definition, benefit & strategies. https://www.prodigygame.com/blog/inquiry-based-learning-definition-benefits-strategies/

Suwannoi, P. (2021). Supporting document for teaching and learning development project “Problem Based Learning”. https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf.

Techakup, P. (2001). Student-Centered Teaching: Concepts, Methods and Teaching Techniques 1. The Master Group Management.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology [IPST]. (2011). STEM-based learning. http://physics.ipst.ac.th/?page_id=2481

Wise mention. (2020). Teaching Philosophy by Learning Management Inquiry-based learning. https://kasets.art/CQU7RT

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024