การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยินชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • ลิทราย สำลี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

แนวคิดวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E), บอร์ดเกม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านบอร์ดเกม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 38 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจ 4) บอร์ดเกมบันไดงู เรื่องเสียงกับการได้ยิน การศึกษานี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกมร่วมกับแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (7E) นำมาวิเคราะห์ด้วย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t –test (Dependent sample)

ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์สอดคล้องกับนักวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น และมีแนวคิดคลาดเคลื่อนและไม่เข้าใจแนวคิดลดลง สามารถระบุความหมาย ให้เหตุผลและองค์ประกอบสำคัญของแต่ละแนวคิดได้อย่างครบถ้วน โดยมีผลการพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักเรียน มีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม อยู่ในระดับมาก

References

De Jong. J. P. L. & Den Hartog. (2008). Innovative Work Behavior: Measurement and Validation. Zoetermeer, November.

Gilbert, J. K. (2006). On the Nature of “Context” in Chemical Education. International Journal of Science Education. Vol.28 (pp.957-976).

Ministry of Education. (2008). Science Curriculum and Learning Outcomes for Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: Ministry of Education, 2008.

Phap Laopibul. (1997). Teaching Science. 2nd edition. Bangkok: Thai Watana Panit.

Pimpilai, B., & Sirinspa, S. (2021). Development of science learning activities using scientific

concepts to develop critical thinking and problem-solving skills of 10th-grade students. Journal of Education, 43(2), 105-122.

Suksanchananun, C. (2012). Alternative: The development of junior high school students'' conception and conceptual transferability of heat by contextual learning. (Master of education). Bangkok: kasetsart university. [In Thai]

Wachirawit, N. and S. Phanujaree. (2020). An Upright School Management Model for Administrators In the Primary Schools Under the Office of The Basic Education C0mmissio. Journal of Palisueksabuddhaghosa Review, 6(2), 84 – 98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29