ผลการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
กิจกรรมศิลปะ , เทคโนโลยีสนับสนุน , ความคิดสร้างสรรค์ , เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยทั้งชายและหญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุน จำนวน 16 แผน และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากการวาดภาพ TCT-DP (Test of Creative Thinking – Drawing Production) ของ Jellen and Urban (1986) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดกลุ่มข้อมูลและเขียนบรรยายเชิงพรรณา
ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.85 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.32 และ หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 37.07 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.46 โดยรายด้านเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านความคิดละเอียดลออ ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดคล่องแคล่ว
References
Anantana, L. (1992). Technical methods of children's art teaching. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]
Atthanuphan, M., & Pechkoom, O. (2015). Technology for Young Children: The Suitable Way of Using. Silpakorn Educational Research Journal, 13(1), 23-34. [in Thai]
Chartisathian, C. (2017). The use of early childhood technology media. Preschool Education Association of Thailand Under the Royal Patronage of her Royal Highness Maha Chakri Sirindhorn. [in Thai]
Chewpreecha, C. (2011). Creative Thinking of Young Children Acquired Through Banana Leaf Art Activities. Master thesis, M.Ed. (Early Childhood Education). Bangkok: Graduate School, Shinakarinwirot University. [in Thai]
Couse, L.J., & Chen, D.W. (2010). A tablet Computer for Yong Children? Exploring its Viability for Early Childhood Education. Journal of Research on Technology in Education, 43(1), 75-98.
Dechakup, Y. (1999). Early Childhood Education. Bangkok: AB Graphic Design. [in Thai]
Jellen, G., & Urban, k. (1986). Test For Creativity Thinking Drawing Production. The Creative Child and Adult Quarterly, 11(8), 107-155.
Maneephruek, N. (2022). Development of Digital Technology Intergraded Art Activity Package to Promote Motivation in Art Creation for Preschoolers. The Degree of Mater of Education in Art Education, Faculty of Education Chulalongkorn University. [in Thai]
Ministry of Education. (2017). Early Childhood Education Curriculum Manual, B.E. 2017. Bangkok: office of Academics and educational standards Office of the Basic Education Commission Ministry of Education. [in Thai]
Panyasai, W. (2013). Techniques and methods to promote creativity. Uttaradit Education Research Journal, 11(1), 31-48. [in Thai]
The Office of Educational Technology USA. (2016). Guiding Principles for Use of Technology with Early Learners. https://tech.ed.gov/earlylearning/principles/.
Ueaanon, M. (2000). Teaching and Experience in Aesthetics and Art Criticism. Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)