การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน, รูปแบบการนิเทศ, บริบทของสถานศึกษา, คุณภาพการศึกษา, เทคนิค EDFRบทคัดย่อ
ารวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวโน้มการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR และ 2) สังเคราะห์รูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 10 คน คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ที่ 3 และ 1
ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวโน้มการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา ประกอบด้วยกระบวนการ 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์สภาพความต้องการ ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนัก ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพและการสาธิตรูปแบบการสอน ด้านการร่วมคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน และด้านการติดตามประเมินผล และ 2) รูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา “KRACHOM S MODEL” มีองค์ประกอบ 7 ส่วน คือ K = ความรู้ R = การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ A = การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ C = ทักษะในศตวรรษที่ 21 H = ความเต็มใจ O = ความเป็นหนึ่งเดียว และ M = การบริหารจัดการโดยใช้วงจรคุณภาพ โดยพบว่ารูปแบบมีความเหมาะสมและเป็นไปได้
References
Ai – man, E., Naree, K., & Ouppinjai, S. (2022). Modern Supervisors: Adapting to challenges in a changing world. Journal of Educational Administration and Leadership, 10(39), 1-8. https://jeal.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=1084
Chamarat, S., & Yurachai, S. (2016). The Educational Supervision Strategies for Community Development Using School Based Management under Khon Kaen Educational Office of Primary Educational Service Area 1. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research), 10(4), 145-149. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ/article/view/88099
Khenpho, A. (2019). The Development Supervision Model to Enhance Learning Management Competency in Primary Schools [Doctoral dissertation, Naresuan University]. Mahasarakham University Intellectual Repository. https://shorturl.at/opCDW
Office of the Basic Education Commission, (OBEC). (2019). An internal supervision approach using the classroom as a base to develop the quality of learners. Education Supervisor Unit.
Poolpatatachewin, C. (2003). Conducting Ethnographic Delphi Future Research. Journal of Education Studies, 32(1), 97-100. https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol32/iss1/1
Srakrachomsophonpittaya School. (2021). Self – Assessment Report: SAR (Academic year 2021). Srakrachomsophonpittaya School.
Thavorachot, T. (2021). The supervision model of cooperative network to promote the school effectiveness under the secondary [Doctoral dissertation, Naresuan University]. NU Intellectual Repository. https://shorturl.at/avxNP
Office of the Education Council, (OEC). (2017). National Education Plan 2017 – 2036. Phrik-whan graphic.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)