ประสบการณ์และแนวทางการพัฒนาการคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว”: การศึกษาเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • ปรัชญา ชมสะห้าย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่
  • กุลชาดา ศรีใส คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สุดยอด ชมสะห้าย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ดุสิต สุขประเสริฐ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วนิดา โนรา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คอร์สออกกำลังกายดาบมือเดียว , การพัฒนาโปรแกรมคอร์สออกกำลังกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการเข้าร่วมคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโปรแกรมออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” กลุ่มตัวอย่าง เป็นประชาชนที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่อาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัย จำนวน 20 คน แบ่งเป็น เพศชาย จำนวน 9 คน และเพศหญิง จำนวน 11 คน มีอายุระหว่าง 20-24 ปี เข้าร่วมคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสังเกต การบรรยายเหตุการณ์สำคัญ และการสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล และตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า สรุปผลวิจัยได้ 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1. ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” จากการเก็บรวบรวมข้อมูลสรุปองค์ความรู้ ไว้จำนวน 6 หัวข้อ คือ 1) การอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้ด้วยอาวุธไทย 2) พัฒนาการทักษะการใช้ดาบ 3) การได้รับข้อมูลย้อนกลับ 4) สมรรถภาพทางกายดีขึ้น 5) อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และ 6) การเสริมแรงขับของผู้นำออกกำลังกาย
2. แนวทางการพัฒนาโปรแกรมคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว” จากการเก็บรวบรวมข้อมูลได้สรุปองค์ความรู้ ไว้จำนวน 4 หัวข้อ คือ 1) ท่าทาง การเคลื่อนไหว และจังหวะดนตรี 2) รูปแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย 3) อุปกรณ์การออกกำลังกาย และ 4) การใช้ข้อตกลง แนวปฏิบัติ และข้อควรระวังที่ดี

References

Chomsahai, P., Puttaphimsen, A., & Pudkaew, K. (2022). The Development of Aerobic Exercise Program with Ancient Thai Weapons: A Case Study of Exercise Groups for Health. Chiang Mai : Faculty of Sport and Health Sciences1, Thailand National Sports University Chiang Mai Campus.

Klinampa, A., Chalapirom, B., & Tingsabhat, S. (2021). Effects of Thai Sword Training Program based on Guilford’s Concept upon Creative Thinking Higher Education Students. An Online Journal of Education. 16(1): 1-12 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/246841

Kosalvitr, T., & Kanyakan, K. (2018). Balance Exercise: Safe and Healthy. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences. 2(1) 1-11 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JRIHS/article/download/213158/148148/

Ngambang, J., Sriisan, P., & Homsombat, T. (2022). Effects of Two-Handed Sword Training Program on Cognition In Healthy Colleague Students. Journal of Science and Technology. 5(2):116-132.

Phutthaphimsen, A. (2020). Documents for teaching skills and teaching Krabi Krabong. Chiang Mai: Faculty of Education National Sports University Chiang Mai Campus.

Ritthitham, C., & Sukdee. N. (2021). The Development of Exercise Program by using Thai Martial Arts with Two Handed Sword to Effect on Quality of Life in Upper High School Studen. Science and Technology Journal of Sisaket Rajabhat University, 13(3), 51 - 61.

Smith, J. (2010). FITT principle for exercise: Frequency, intensity, time, and type. Journal of Exercise Science, 5(2), 105-112.

Sukdee, N. (2019). The Development of an Exercise Program Using Muay Thai arts to Improve Upon life Skills Regarding Emotional Coping of Upper Elementary Students. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 13(3), 51 - 61.

Suwatnakin, C., & Watanasawad. K. (2020). A development of martial art for commerce: A case study of Ultra Tiger Co., Ltd. Mahachula Academic Journal, 7(2), 107 - 120.

Tangthai, A., Makaje, N., Kwajaratwilai, T., & Ruangthai,R. (2020). Effects of Muay Thai Exercise with Shadow Boxing, Sand Bag and Pad on Cardiorespiratory Responses in Female. Journal of Science and Technology, 9(1), 42- 55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-05-2024