การพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บริบทสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ
  • รุ่งนภา แซ่แต้

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ บริบทสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก, การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บริบทสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก กลุ่มวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 22 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา  รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนำมาใช้กับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บริบทสถานการณ์ แบบวัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ อนุทินการเรียนรู้ของนักเรียน และแบบบันทึกหลังการสอน โดยนักเรียนที่เข้าร่วมมีการพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ในระดับมาก (ระดับ 4 จากคะแนนเต็ม 5) ในด้านการระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ สามารถแยกแยะประเด็นหรือเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ออกจากประเด็นในเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วยประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์  นักเรียนสามารถระบุคำถามที่สามารถตอบได้โดยการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ และคำถามใดที่ไม่สามารถตรวจสอบ      โดยใช้การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ พวกเขายังสามารถประเมินตนเองและกำหนดข้อมูลหรือหลักฐาน ที่จำเป็นในการรวบรวมเพื่อออกแบบการรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง สามารถใช้วิธีการตรวจสอบ       ที่เที่ยงตรง การออกแบบที่ควบคุมตัวแปรและวิธีการเปลี่ยนแปลงตัวแปร  รองลงมาคือด้านการอธิบายปรากฏการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนสามารถบรรยาย อธิบาย และคาดการณ์ ในสถานการณ์ในชีวิตได้ ในด้านการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนยังไม่ได้แสดงถึงการพัฒนาสมรรถนะนี้ชัดเจน อาจเป็นเพราะกิจกรรมการเรียนรู้ไม่ได้เน้นการส่งเสริมด้านนี้โดยเฉพาะในบริบทของการใช้ข้อมูลหรือหลักฐานที่ได้รับจากการวิจัยมาสนับสนุนข้อสรุปหรือการคาดการณ์หรือการพยากรณ์ แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บริบทสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น

คำสำคัญ: สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ บริบทสถานการณ์ในชีวิต ในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก, การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

References

Changwangprang, N. (2002). Doing science project activities that affect academic achievement in subjects science of year 6 worship students [Master Dissertation, Prince of Songkla University]. [in Thai]

Coghlan, D., & Brannick, T. (2001). Doing action research in your own organization. Sage.

Hmelo-Silver, C. E., Duncan, R. G., & Chinn, C. A. (2007). Scaffolding and achievement in problem-based and inquiry learning: A response to Kirschner, Sweller, and Clark (2006). Educational Psychologist, 42(2), 99-107.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2018). Manual for using the additional course curriculum, science, chemistry, high school level science learning group (revised edition 2017) according to the Basic Education Core Curriculum 2008, Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Khaemmanee, T. (2010). Teaching science: knowledge for organizing effective learning processes efficiency (13th edition). Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Khumraksa, B. (2021). The use of research-based learning to promote an active learning in science learning. CMU Journal of Education, 5(1), 58-74. (in Thai)

Krajcik, J. S., & Czerniak, C. M. (2014). Teaching science in elementary and middle school: A project-based approach (5th ed.). Routledge.

Phannapa, A., & Rombklao, J. (2019). Assessing the impact of inquiry-based learning using collaborative models and evidence-based reasoning models on the understanding of dissolution, electrolysis, and electrochemistry of 5th year high school students. Journal of Learning Innovation, 5 (1), 65 - 83. [in Thai]

แสดงการเปรียบเทียบผลการประเมินสมรรถนะการประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้บริบทสถานการณ์แยกตามสมรรถนะย่อย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2024