ผลของการใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงินที่มีต่อความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
ความฉลาดรู้คณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ชุดกิจกรรม, บริบททางการเงินบทคัดย่อ
ความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ เป็นความสามารถของบุคคลในการคิดและแปลงปัญหา การใช้คณิตศาสตร์ และการตีความและประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาในบริบทชีวิตจริง รวมไปถึงช่วยบรรยายและคาดการณ์ปรากฏการณ์ชีวิตจริง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนรู้จากชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงิน โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 35 คน ที่เรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงิน และแบบวัดความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ โดยวิเคราะห์ผลด้วยสถิติบรรยายโดยหาความถี่และร้อยละ และการจำแนกกลุ่มแนวโน้มความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ด้วยการแบ่งกลุ่มแบบค่าเฉลี่ย K ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงินส่วนใหญ่มีระดับของความฉลาดรู้คณิตศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับปานกลางและดีซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในบริบททางการเงินมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ โดยมีระดับการคิดและแปลงปัญหาและระดับการใช้คณิตศาสตร์สูงขึ้น อย่างไรก็ตามการตีความและประเมินมีระดับคงที่
คำสำคัญ: ความฉลาดรู้คณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ชุดกิจกรรม, บริบททางการเงิน
References
Barrows, H., & Tamblyn, R. (1980). Problem-based learning: Rationale and definition. In Editor (Eds.), Problem-Based Learning an Approach to Medical Education (pp. 1-18). Springer Publishing Company Inc.
Boriboon, A. (2018). Development of mathematics instructional packages using problem based learning (PBL) and team games tournament (TGT) to enhance mathayomsuksa 3 students’ mathematics process skills, attitude and learning achievement. Education Journal Faculty of Education Kamphaengphet Rajabhat University, 3(5), 107-131. [in Thai].
Hemlock-Silver, C., (2004). Problem-based learning: What and how do students learn. Educational Psychology Review, 16(3), 235-244.
Khamphala, S. & Asvaraksha, N. (2023). The effect of learning by concept attainment model about decimal of mathayomsuksa 1 students at watpromjariyawat municipality school. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation. 9(8), 1109-1131. [in Thai].
Laamena, C. M., & Laurens, T. (2021). Mathematical literacy ability and metacognitive characteristics of mathematics pre-service teacher. Infinity journal, 10(2), 259-270.
Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2023). PISA 2022 Assessment and Analytical Framework. https://www.oecd.org
Simamora, R., Sidabutar, D., & Surya, E. (2017). Improving learning activity and students’ problem-solving skill through problem based learning (PBL) in junior high school. International Journal of Science: Basic and Applied Research, 33(2), 321-331.
Tabun, H., Taneo, P., & Deniel, F. (2020). The ability of student math literacy on problem based learning modeling (PBL). EduMa: Mathematics Education Learning and Teaching, 9(1), 43-48.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2023, December 6). PISA 2022 Assessment. http://ipst.pisatest.ipst.ac.th [in Thai].

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)