การพัฒนาแบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้แต่ง

  • เพ็ญพิพร ทรัพย์สุวรรณ์ -
  • สรียา โชติธรรม Kasetsart University
  • ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ Kasetsart University

คำสำคัญ:

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์, เกณฑ์ปกติ, การพัฒนาแบบวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 2) สร้างเกณฑ์ปกติ (Norm) สำหรับแปลความหมายคะแนน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2/2566 จำนวน 564 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดที่สร้างขึ้นมี 5 องค์ประกอบ คือ 1.ทักษะการแก้ปัญหา 2.ทักษะการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ 3.ทักษะการเชื่อมโยง 4.ทักษะการให้เหตุผล และ 5.ทักษะการคิด สร้างสรรค์ เป็นข้อคำถามเชิงสถานการณ์ องค์ประกอบที่ 1–4 เป็นแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก
ให้คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน ตอบถูกได้ 1 คะแนน จำนวน 40 ข้อ และองค์ประกอบที่ 5 เป็นแบบเขียนตอบ มีเกณฑ์คะแนนแบบรูบริค จำนวน 2 ข้อ รวมข้อคำถามทั้งหมด 42 ข้อ  2) แบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก 0.37 - 0.74 และ 0.30 - 0.82 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเป็น 0.96 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 1.46, p = 0.23, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.03, RMR = 0.00)  3) เกณฑ์ปกติของแบบวัดในรูปคะแนนมาตรฐานทีปกติมีค่าตั้งแต่ T35 – T70 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถทางทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ระดับปานกลาง

คำสำคัญ: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เกณฑ์ปกติ การพัฒนาแบบวัด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ฉวีวรรณ แก้วไทรฮะ. (2559). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบเครื่องมือการวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2548). การใช้ spss เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชวาล แพรัตนกุล. (2520). คู่มือการสร้างแบบทดสอบมาตรฐานความถนัดทางการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. โรงพิมพ์คุรุสภา.

พรทิพย์ ไชยโส. (2545). เอกสารคำสอน วิชา 153521 หลักการวัดและประเมินผลการศึกษาขั้นสูง. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

พร้อมพรรณ อุดมสิน. (2544). การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3 ed.). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.

ไพศาล วรคำ. (2554). การวิจัยทางการศกษา. ตักสิลาการพิมพ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). การทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7 ed.). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ฉบับปรังปรุง พ.ศ. 2560). สถาบันส่งเสริมการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3 ed.). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

OECD. (2019). PISA 2018 Results (Volume I): What Students Know and Can Do, PISA, OECD Publishing. https://doi.org/10.1787/5f07c754-en

Soper , D. S. (2022). Structural Equation Model Sample Size Calculator. https://www.analyticscalculators.com/calculator.aspx?id=89

ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2024