ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยใช้แนวคิดสะตีมศึกษาผสานการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงครามที่มีต่อความเข้าใจ มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
การจัดประสบการณ์แบบโครงการ, สะตีมศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น, มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยใช้แนวคิดสะตีมศึกษาผสานแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงครามที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือเด็กปฐมวัยชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ ชั้นอนุบาล 2/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ 3 โครงการ ซึ่งประกอบด้วย 30 แผน แบบทดสอบความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และแบบสังเกตความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยใช้แนวคิดสะตีมศึกษาผสานแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงครามมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง จากการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เด็กมีความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ดีขึ้นทั้ง 9 มโนทัศน์
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)