ผลของการใช้โปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุมาลี ขำอิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การเห็นคุณค่าในตัวเอง, โปรแกรมการเห็นคุณค่าในตัวเอง, สมาธิสั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ปีการศึกษา 2557  มีรูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นระดับชั้นประถมศึกษา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 84  คน และได้รับการคัดเลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling Selection) เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีภาวะสมาธิสั้นได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว โดยไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อน และสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเอง จำนวน 20 คน ได้รับการสุ่มเข้ากลุ่ม (Random Assignment) เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ส่วน คือ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง Five-Scale Test of Self-Esteem for Children (FSC) ฉบับภาษาไทย ปี 2541 และ โปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเอง

วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยใช้สถิติ  Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test และเปรียบเทียบคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีทดสอบแบบ Mann-Whitney U Test

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. นักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  ที่เข้าร่วมโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเอง มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

2. นักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ที่เข้าร่วมโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเอง มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

Downloads