ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จริยา ทรงพระ สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นฤมล ศราธพันธุ์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อังคณา ขันตรีจิตรานนท์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรุนแรง, พฤติกรรมการใช้ความรุนแรง, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร และ 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 455 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.96 ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา ผู้ปกครองของนักเรียน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 38,167.03 บาท สามในห้า มีลักษณะครอบครัวเดี่ยว มากกว่าสองในสาม มีลักษณะการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มากกว่าสองในสาม บิดามารดาอยู่ด้วยกัน มากกว่าหนึ่งในสี่ บิดาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกือบหนึ่งในสี่ มารดาสำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรี บิดาของนักเรียนประกอบอาชีพมากที่สุด คือค้าขายหรือเจ้าของธุรกิจ และมารดาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เกือบสามในสี่ มีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงด้านร่างกายอยู่ในระดับต่ำ และมากกว่าครึ่ง มีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงด้านจิตใจอยู่ในระดับต่ำ

การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ระดับชั้น ผลการเรียน ที่พักอาศัย และระดับการศึกษาของบิดามารดา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยทางสังคมทั้งด้านกลุ่มเพื่อน สื่อ และเกมออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

 

Downloads