การพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring

ผู้แต่ง

  • ทรงชัย อักษรคิด ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เอกรัตน์ ทานาค ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เอกภูมิ จันทรขันตี ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุดมลักษณ์ กูลศรีโรจน์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สิทธิกร สุมาลี ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การชี้แนะ, การเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ, กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ “การพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) สมุทรปราการ เขต 1 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring” ในด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ของโครงการ โดยในด้านผลลัพธ์นี้ได้ทำการประเมินใน 4 ด้าน คือ ด้านผลกระทบด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่ม คือ1) กลุ่มครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน 2) ผู้ประสานงานจากสพป.สมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 3 คนและ 3) อาจารย์นิเทศก์จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 8 คน

ผลการประเมินพบว่าการดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผนพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ที่ได้กำหนดไว้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นขณะดำเนินงานโครงการ พบว่า ครูส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนรู้ที่ไม่หลากหลายมีภาระงานอื่นนอกเหนือจากภาระงานด้านการเรียนการสอนมาก ในขณะที่ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์บางคนไม่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนตัวบุคคลระหว่างดำเนินงานโครงการ และมีภาระงานปกติตามแผนงานและโครงการที่รับผิดชอบ ทำให้บางคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ผลที่ได้จากการดำเนินงานโครงการส่วนใหญ่เป็นที่น่าพึงพอใจ โดยผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เห็นว่า ได้ประโยชน์หรือเกิดผลทางบวกมากกว่าทางลบ สำหรับการประเมินในด้านประสิทธิผล พบว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ส่วนใหญ่ เข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนาตามระยะเวลาและมีผลงานเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลงานส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ถึงดี และเพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการถ่ายทอดส่งต่อและเกิดความยั่งยืนทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ จะนำรูปแบบหรือกระบวนการดำเนินงานโครงการในแต่ละกลุ่มไปดำเนินการต่อกับโรงเรียนในสังกัด

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022