การพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติกด้วยกิจกรรมประกอบอาหาร: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
กิจกรรมประกอบอาหาร, ทักษะทางสังคม, นักเรียนออทิสติกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะสังคมของนักเรียนออทิสติกโดยใช้กิจกรรมประกอบอาหาร และเปรียบเทียบคะแนนจากแบบประเมินทักษะทางสังคม ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมประกอบอาหาร การวิจัยใช้กระบวนการวิจัยในลักษณะการทดลองเชิงประยุกต์ (Quasi - Experiment) โดยใช้รูปแบบการทดลองที่มีกลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว ที่มีการวัดตัวแปรตามก่อนและหลังการทดลอง(Time Series Design) จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนออทิสติกในระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 5 คน โดยมุ่งศึกษาทักษะทางสังคม 3 ด้าน ได้แก่ การสื่อความหมายกับบุคคลอื่น การควบคุมตนเอง และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร จำนวน 10 แผน แบบประเมินทักษะทางสังคม แบบบันทึกหลังสอน และแบบสัมภาษณ์ครูประจำชั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมประกอบอาหารสามารถพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติกได้ ทั้งนี้ทักษะทางสังคมในด้านการสื่อความหมายกับบุคคลอื่นมีเปลี่ยนแปลงมากที่สุด และผลจากการสังเกตขณะดำเนินการจัดกิจกรรมประกอบอาหารสำหรับนักเรียนออทิสติก การสัมภาษณ์ครูประจำชั้น และการฟังความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า นักเรียนชอบการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง ชอบทำกิจกรรมประกอบอาหารนอกจากนี้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองด้านการช่วยเหลือตัวเอง การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงานเป็นกลุ่ม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และความคิดสร้างสรรค์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)