การพัฒนาสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ ทักษะ และเจตคติการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือในรายวิชาสร้างสรรค์งานกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ลดา กมลศิริธนพงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นาตยา ปิลันธนานนท์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศุภฤกษ์ ทานาค ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การเรียนแบบร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการทํางานกลุ่ม, เจตคติการทํางานกลุ่ม

บทคัดย่อ

การทํางานกลุ่ม นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้การทํางานร่วมกับผู้อื่นแล้ว ยังช่วยให้เข้าใจกระบวนการทํางานกลุ่มมากยิ่งขึ้น อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตประจําวันของผู้เรียน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้และการประเมินประสิทธิภาพของแผนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการทํางานกลุ่ม และเจตคติการทํางานกลุ่ม 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการทํางานกลุ่มและเจตคติการทํางานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่เรียนในรายวิชาสร้างสรรค์งานกระดาษ ในภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2558 จํานวน 50 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากหมายเลขห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 12 ห้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที (t- test for dependent samples) การหาค่าเฉลี่ย และ ร้อยละ

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า จากการพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้และการประเมินประสิทธิภาพของแผนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยประเมินผลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการทํางานกลุ่ม และเจตคติ การทํางานกลุ่มนั้น พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการทํางานกลุ่มที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงมีเจตคติการทํางานกลุ่มที่ดีโดยพัฒนาเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีไปจนถึงดีมาก ส่งผลให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ และมีผลการเรียนทั้งรายวิชาอยู่ในระดับดีมากไปจนถึงดีเยี่ยม รวมถึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่าผลงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มโดยภาพรวมมีความสวยงาม ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการตกแต่ง และทักษะการทํางานกลุ่มทั้งของผู้วิจัยเป็นผู้ประเมิน นักเรียนประเมินสมาชิกกลุ่มของตนเอง และนักเรียนประเมินตนเอง มีความสอดคล้องกัน คือมีทักษะการทํางานกลุ่มอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-29