อนาคตการศึกษาไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0 ตามมุมมองของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ผู้แต่ง

  • วรรณดี สุทธินรากร

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนฐานทรัพยากรไปสู่การพัฒนาประเทศบนฐานความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในมุมมองของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐบาลต้องปรับระบบการศึกษาเพื่อฝ่าฟันปัญหาพื้นฐานที่ยังคงดำรงอยู่ทั้งเรื่องของความไม่เท่าเทียมของโอกาสทางการศึกษา  การขาดเรียนของเด็กที่พ่อแม่มีฐานะยากจน รวมทั้งปัญหาเนื้อหาหลักสูตรที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยทางออกในการแก้ไขปัญหาทั้งระบบคือ ระดับเด็กเล็กต้องตั้งศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลให้ครอบคลุม  ระดับประถมเน้นให้ผู้เรียนได้มีทักษะการคิด ไตร่ตรอง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสอนให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายชีวิตในอนาคต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายออกแบบหลักสูตรให้พอเหมาะกับแต่ละบุคคล เน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับอาชีวศึกษาควรเพิ่มจำนวนผู้เรียนให้มากขึ้น  ต้องเกี่ยวร้อยภาคธุรกิจในท้องถิ่นเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานตามหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งระดับอุดมศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะตามโครงสร้างทางเศรษฐกิจและมีความสามารถในการเป็นผู้นำการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบต้องเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความจริงของโลกที่เปลี่ยนไป  ปรับระบบการประเมินผลที่เป็นคำตอบต่อการพัฒนาการศึกษาให้มากขึ้น แก้ไขระบบประเมินที่ไปเพิ่มภาระให้กับผู้สอน  นำผลประเมินไปใช้ประโยชน์ให้ได้ในทุกระดับการศึกษา

Downloads