การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
การจัดประสบการณ์, สะเต็มศึกษา, ทักษะการสื่อความหมายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษากลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา จำนวน 24 แผน แบบสังเกตทักษะการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัยแบบประเมินทักษะการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษามีคะแนนเฉลี่ยทักษะการสื่อความหมายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและผลจากการสังเกตพฤติกรรมพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษามีทักษะการสื่อความหมาย ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการพูดบอกชื่อสิ่งของการพูดเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์และการวาดภาพให้ผู้อื่นรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)