การพัฒนาหลักสูตรสอนเสริมระยะสั้น เรื่อง การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
หลักสูตรสอนเสริมระยะสั้น, การเพิ่มมูลค่า, ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรสอนเสริมระยะสั้นเรื่อง การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 อำ เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 29 คน จาก 29 โรงเรียน และสัมภาษณ์ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 5 คน เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึกครูที่สอน หลักสูตรสอนเสริมระยะสั้น แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษามีแนวทางในการพัฒนาการศึกษาให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติมีทักษะการทำงาน สามารถนำเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาไทย มาใช้ในการทำงานอย่างถูกต้อง ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรสอนเสริมระยะสั้น มีองค์ประกอบของ
หลักสูตร ดังนี้ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา เวลาเรียนแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน สื่อการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล ซึ่งเนื้อหาของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์และมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรสอนเสริมระยะสั้น พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ถ่ายทอดความรู้โดยผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้านร่วมกับครูและผู้วิจัย ลักษณะการถ่ายทอดความรู้ของผู้รู้ มีการประเมินผลงาน/ชิ้นงาน และทักษะการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างนักเรียน และครูผู้สอน สังเกตพฤติกรรมเพื่อประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยนักเรียน และครูผู้สอน และ 4) ผลการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรสอนเสริมระยะสั้น พบว่า นักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างดี และมีข้อบกพร่อง
ที่ควรปรับปรุงแก้ไข เรื่องระยะเวลาที่กำหนดไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ใน
ภาคปฏิบัติ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)