ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกสู่ประชาคมอาเซียนในทศวรรษหน้า

ผู้แต่ง

  • ธันยธรณ์ คาวาซากิ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุเมธ งามกนก ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประยูร อิ่มสวาสดิ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ภารกิจ 4 ด้าน, ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัย, ประชาคมอาเซียน, ทศวรรษหน้า

บทคัดย่อ

         ทิศทางการบริหารตามภารกิจมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกสู่ประชาคมอาเซียนในทศวรรษหน้า ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวโน้มการบริหารตามภารกิจมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกสู่ประชาคมอาเซียนในทศวรรษหน้า และตรวจสอบความเหมาะสม ระเบียบวิธีวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณา(Ethnographic Delphi Future Research: EDFR) จากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกจำนวน จำนวน 17 คน และตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) จำนวน 364 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาใช้เทคนิคการสรุปสะสม ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  ร้อยละ

          ผลการวิจัยพบว่า ทิศทางการบริหารตามภารกิจมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกสู่ประชาคมอาเซียนในทศวรรษหน้าที่เหมาะสมละสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยการให้ความสำคัญ 4 ด้านตามอับดับ      1) ด้านการวิจัยโดยการเป็นศูนย์ความเป็นเลิศในศาสตร์ที่สร้างงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก และมีความร่วมมือด้านงานวิจัยกับกลุ่มประเทศอาเซียนในรูปแบบใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและนวัตกรรมใหม่ มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้มุ่งเน้นการวิจัย          2) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเกิดเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตกับกลุ่มประเทศอาเซียนมีระบบฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์เผยแพร่สื่อวัฒนธรรมที่เข้าถึงสื่อได้ง่ายเป็นระบบ และมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกมีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่โดดเด่นชัดเจน 3) ด้านบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน ระบบการบริการวิชาการมีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอาเซียน มีศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียนในภาคตะวันออก และเกิดเครือข่ายวิชาการทั้งในประเทศและอาเซียนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาองค์ความรู้การเป็นศูนย์กลางศึกษารวบรวมองค์ความรู้ด้านศาสตร์ต่าง ๆ จากในประเทศและต่างประเทศ 4) ด้านการผลิตบัณฑิต มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาการถ่ายโอนหน่วยกิต ระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ       มีกลไกในการคัดเลือกผู้เรียนที่ได้มาตรฐานและมีหลักสูตรเฉพาะทางตรงความต้องการของสังคมอาเซียน รวมถึงการพัฒนาบัณฑิตที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่ภาคตะวันออก

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-10-2020