การพัฒนาความรู้และเจตคติการปฏิบัติงานแนะแนวของครูในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดนครปฐมด้วยโปรแกรมแนะแนว
คำสำคัญ:
โปรแกรมการแนะแนว, การปฏิบัติการแนะแนวในสถานศึกษา, สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้และเจตคติการปฏิบัติงานแนะแนวก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการแนะแนว 2) เปรียบเทียบความรู้และเจตคติการปฏิบัติงานแนะแนวหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการแนะแนวกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนพระตําหนักสวนกุหลาบมหามงคล จังหวัดนครปฐม จํานวน 75 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) ทําการสุ่ม 2 ครั้ง (Two-Stage Sampling) เริ่มจากการสุ่มในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา จังหวัดนครปฐม จํานวน 2 เขต โดยผลการสุ่มได้เขต 2 และดําเนินการสุ่มในระดับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในสังกัด เขต 2 จนได้กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนพระตําหนักสวนกุหลาบมหามงคล และในส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย โปรแกรมการแนะแนว ซึ่งสร้างและพัฒนาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างบุคคล 3 ฝ่าย คือ นักวิชาการ ครูผู้ปฏิบัติงานแนะแนวและผู้บริหารหน่วยงาน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือดังกล่าวด้วยการสนทนากลุ่มสรุปแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญและทดลองใช้แล้วปรับปรุงแล้ว 1 วงรอบ แบบวัดความรู้การปฏิบัติงานแนะแนว และแบบวัดเจตคติการปฏิบัติงานแนะแนว ที่สร้างขึ้นมีความตรงตามเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ที่ได้จากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 คน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและการทดสอบทีแบบตัวอย่าง 1 กลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า
1) ความรู้และเจตคติการปฏิบัติงานแนะแนวของครูที่เข้าร่วมโปรแกรมการแนะแนวสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ความรู้และเจตคติการปฏิบัติงานแนะแนวของครูที่เข้าร่วมโปรแกรมการแนะแนวของครูที่เข้าร่วมสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)