แนวคิดการเรียนรู้บนความท้าทายและการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้นักการศึกษาต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวความคิดให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีความหลากหลายของแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมในการเผชิญกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในสภาพการณ์ดังกล่าวนั้น ซึ่งจะเป็นผลดีในเชิงบวกต่อการปรับตัวในการเรียนรู้ของผู้เรียน ในบทความนี้มี 2 แนวคิด กล่าวคือ แนวคิดการเรียนรู้บนความท้าทายและเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งต่างเป็นสิ่งที่สามารถตอบสนองการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่สังคมยุคเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งหมด ด้วยเหตุผลที่ว่าแนวคิดทั้งสองเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการแก้ปัญหาที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง มีความท้าทายให้ผู้คิดเน้นการคิดที่แปลกใหม่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าของสังคมโลกที่สำคัญ ทั้งสองแนวคิดการเรียนรู้มีความสอดคล้องและส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีความเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาสังคมโลกต่อไป อย่างไรก็ตาม การนำแนวคิดดังกล่าวไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ความต้องการ และความพร้อมด้านต่างๆ รวมทั้งครูผู้สอนและผู้เรียน ดังนั้น สรุปได้ว่า ผู้ใช้ควรประยุกต์แนวคิดให้เหมาะสมตามสภาพการณ์และบริบทก็จะทำให้การใช้แนวคิดการเรียนรู้ทั้งสองมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Apple Education. (2011, January). Challenge based learning: A classroom guide. Retrieved from https://images.apple.com/education/docs/CBL_Classroom_Guide_Jan_2011.pdf
Apple Education. (2008). Challenge based learning: Take action and make a difference. Retrieved from https://www.apple.com/ca/education/docs/Apple-ChallengedBasedLearning.pdf
Ardiansyah, A. S., & Asikin, M. (2020). Challenging students to improve their mathematical creativity in solving multiple solution task on challenge based learning class. Proceedings of Journal of Physics: Conference Series, Indonesia, 1567, 022088. doi:10.1088/1742-6596/1567/2/022088
Binder, F. V., Nichols, M., Reinehr, S., & Malucelli, A. (2017, November). Challenge based learning applied to mobile software development teaching. Paper presented at the 2017 IEEE 30th Conference on Software Engineering Education and Training (CSEE&T) (pp. 57-64). Savannah, GA, USA: IEEE.
Cheng, W. L. S. (2016). Application of challenge-based learning in nursing education. Nurse Education Today, 44, 130-132. doi:https://doi.org/10.1016/j.nedt.2016.05.026
Corrêa, J. (2017, July 31). How we used Apple’s learning framework to create our first app. Retrieved from https://www.freecodecamp.org/news/how-we-used-apples-learning-framework-to-create-our-first-app-91e255b55f03/
Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hall Book.
Johnson, L. F., Smith, R. S., Smythe, J. T., & Varon, R. K. (2009). Challenge-based learning: An approach for our time (pp. 1-38). Austin, Texas: The New Media Consortium.
Khaemmanee, T. (2018). Sātkānsō̜n: ʻongkhwārūphư̄akānčhatkrabūan kānrīanrūthī mīprasitthiphāp [Pedagogy: Knowledge for effective learning process] (22nd ed.) Bangkok: Chulalongkorn University.
Meeplat, N. (2020, January). A model of creativity based learning for computer teaching to enhance creative skills of undergraduate students. In Proceedings of the 2020 the 3rd International Conference on Computers in Management and Business (pp. 184-188). Tokyo, Japan: Association for Computing Machinery.
Nichols, M., Cator, K., & Torres, M. (2016). Challenge based learner user guide. Redwood City, CA: Digital Promise.
Nonthamand, N. (2017). Development of an instructional design model using video based open learning with system thinking and group technique to enhance creative problem solving ability of higher education students (Doctor dissertation). Chulalongkorn University, Bangkok.
Pearce, S. D. (2011, April 20). Discovery, problem and challenged based learning. Retrieved from https://www.classroom20.com/profiles/blogs/discovery-problem-and
Pérez-Sánchez, E. O., Chavarro-Miranda, F., & Riano-Cruz, J. D. (2020). Challenge-based learning: A ‘entrepreneurship-oriented’ teaching experience. Management in Education, 1-8. doi:10.1177/0892020620969868
Phuangphae, P. (2017). Creativity-based learning in social studies. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(5), 365-374.
Ruachaiphanich, W. (2015). Kānsō̜n bǣpsāngsan pen thān: Creativity-based Learning (CBL). Journal of Learning Innovations Walailak University, 1(2), 23-37.
Torrance, E. P. (1962). Guiding creative talent. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Yooumpai, N. (2011). Development of an instructional model using research synthesis results to enhance creative thinking of kindergarteners (Doctor dissertation). Chulalongkorn University, Bangkok.
Zhou, C. (2020). Introducing problem-based learning (PBL) for creativity and innovation in Chinese Universities: Emerging research and opportunities. Copenhagen: IGI Global.