การพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบผู้ผลิตและแปรรูปมะม่วงสู่การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer

Main Article Content

ทัศนีย์ รอดมั่นคง
ประกอบกูล นาคพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบผู้ผลิตและแปรรูปมะม่วงสู่การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer ประเมินประสิทธิภาพระบบ ศึกษาผลการใช้งานและความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) เกษตรกรต้นแบบผู้ปลูกและแปรรูปมะม่วงในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พิจารณาจากคุณสมบัติของเกษตรกรต้นแบบและได้รับการคัดเลือกเป็นสินค้าโอทอปของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 3 คน และ 2) ทายาทเกษตรกรที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีคุณสมบัติเป็นทายาทเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงหรือแปรรูปมะม่วงและสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) ระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน 4) แบบประเมินประสิทธิระบบ 5) แบบประเมินผลการใช้งานระบบ และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย หน้าจอเมนูหลัก โมดูลเนื้อหาการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก การตลาด ฟาร์มแม่นยำ การบริหารความเสี่ยง การทำบัญชีต้นทุน เกษตรกรต้นแบบ การประเมินผลการพัฒนาทายาทเกษตรกร และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โมดูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และโมดูลผู้จัดทำ ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินการใช้งานระบบของกลุ่มตัวอย่างทายาทเกษตรกรที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พบว่า สามารถพัฒนากลุ่มตัวอย่างให้มีความรู้และคุณสมบัติในการเป็น Young Smart Farmer ด้านการผลิตและแปรรูปมะม่วงอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างทายาทเกษตรกรที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ต่อการใช้งานระบบอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
รอดมั่นคง ท., & นาคพิทักษ์ ป. (2022). การพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบผู้ผลิตและแปรรูปมะม่วงสู่การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer. Journal of Information and Learning, 33(1), 101–112. https://doi.org/10.14456/jil.2022.10
บท
บทความวิจัย

References

Chanasuk, K., & Thabkrai, S. (2021, July 8-9). Application system development for analysis of fairy mushroom cultivation investment [Conference session]. The 13th NPRIJ National Academic Conference Nakhon Pathom Rajabhat University, Nakhon Pathom, Thailand.

Kaewkunlaya, S., & Uiphanit, T. (2019, January 19). Development of application aimed at giving advice about Thai remedial herb that enhances beauty. [Conference session]. The 2nd National Conference on Humanities and Social Sciences, Bangkok, Thailand. http://hs.ssru.ac.th/useruploads/files/20190306/a547df7e67b06f3f6cee2eacfe46113855dbc1e0.pdf

Kasēttrakam thāng lư̄ak thāng rō̜t [Agriculture, alternative, way of survival]. (2021, August 9). depa. https://www.depa.or.th/th/article-view/agriculture-alternative-way-of-survival

Khammungkhun, S. (2019, March 26). Kānsāng læ phatthanā kasēttrakō̜n run mai [Creation and development of a new generation of farmers]. Legislative Institutional Repository of Thailand. https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/544475

Khō̜mūn phư̄nthān khō̜ng čhangwat Chachœ̄ngsao [Basic information of chachoengsao province]. (2020, November 1). Office of the Permanent Secretary for Ministry of Agriculture and Cooperatives. https://www.opsmoac.go.th/chachoengsao-dwl-files-421591791909

Panhā phāk kān kasēt [Agricultural sector problems]. (2019, August 22). Siamrath. https://siamrath.co.th/n/43346

Patidar, S., Rane, D., & Jain, P. (2012). Challenges of software development on cloud platform [Paper presentation]. 2011 World Congress on Information and Communication Technologies (WICT), Mumbai, India. https://doi.org/10.1109/WICT.2011.6141386

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Sathutham, P., Wongpanya, J., Kaewkallaya, N., & Sōsīphā, S. (2013, July 16). Kānsưksā rūpbǣp kānphatthanā thāyāt kasēt nai khētpatirūp thīdin khō̜ng ʻongkō̜n chumchon læ khrư̄akhāi phư̄a kānwāngphǣn phatthanā phāitai krō̜p khwāmrūammư̄ kap ʻongkānʻāhān læ kasēt hǣng Sahaprachāchāt (FAO) [A study of the development model of agricultural descendants in the land reform area of community organizations and networks for development planning under framework of cooperation with food and agriculture organization of the United Nations (FAO)]. Agricultural Land Reform Office. http://www.alro.go.th/research_plan/download/article/article_20190731132304.pdf

Song ʻō̜k phonlamai pai khū FTA phung krachūt thurīan-mangkhut-lamyai-mamūang hō̜t [Exporting fruit to pairs, FTA spurts “durian-mangosteen-longan-mango” hot]. (2021, November 28). MGR ONLINE. https://mgronline.com/business/detail/9640000034966

Thammai mamūang pǣt riu čhưng mīchư̄sīang læ khāi dai [Why paed riew mango it is famous and can be sold]. (2021, November 23). TECHNOLOGYCHAOBAN. https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_174503

The Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2016). Young Smart Farmer ʻanākhot læ thitthāng phāk kasēt Thai [Young Smart Farmer, the future and direction of the Thai agricultural sector]. National Office of Buddhism.

Worapitbenja, P., Klinhnu, J., & Srisom, N. (2015). The development learning managements system application of virtual classrooms on mobile device. Industry Technology Lampang Rajabhat University, 8(2), 58-59.

Wuthipanchai, K. (2016). Mobile prototyping application platform for digital agriculture age [Master's thesis]. Thammasat University.