การพัฒนาบุคลากรราชทัณฑ์สู่รูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิงโดยใช้ P2L2F
Main Article Content
บทคัดย่อ
เนื่องด้วยงานราชทัณฑ์เป็นงานลักษณะพิเศษที่ต้องปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมงต่อเนื่องและปฏิบัติทันทีไม่สามารถปฏิเสธได้ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่มีเวลา รวมถึงไม่สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออินเทอร์เน็ตขณะปฏิบัติหน้าที่ภายในเรือนจำได้ ทำให้การพัฒนาบุคลากรแบบดั้งเดิมเป็นไปด้วยความยุ่งยากและเจ้าหน้าที่ขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองที่ต่อเนื่อง บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการพัฒนาบุคลากรราชทัณฑ์สู่รูปและดิจิทัลเลิร์นนิงและนำเสนอองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมในการพัฒนาบุคลากรสู่รูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิง เมื่อผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลเลิร์นนิงซึ่งเป็นวิวัฒนาการจากการเรียนรู้รูปแบบ e-Learning และ M-Learning สามารถครอบคลุมการจัดการเรียนรู้และการฝึกอบรมได้ทุกรูปแบบ โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ ตามที่ผู้เรียนต้องการ ดังนั้น แนวคิดการพัฒนาบุคลากรสู่รูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิงจึงเป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรรูปแบบใหม่ที่ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและการงดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเรือนจำด้วยการจัดสภาพแวดล้อมของการพัฒนาบุคลากรราชทัณฑ์ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในจัดการเรียนรู้สู่รูปแบบดิจิทัลเลิร์นิง ผลการศึกษาพบว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรราชทัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการจัดสภาพแวดล้อมของการพัฒนาบุคลากรราชทััณฑ์สู่รููปแบบดิิจิิทััลเลิิร์์นนิิงมีีองค์ประกอบ 5 ประการ โดยใช้หลัก P2L2F ได้แก่ 1) P: (Personalised education) มีความเป็นส่วนตัว 2) L: (Learning organization) เป็นองค์กรกรแห่งการเรียนรู้ 3) L: (Learning management system: LMS) มีระบบจัดการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลเลิร์นิงผ่่านเครือข่ายอิินเทอร์์เน็็ต 4) F: (Flexible education) มีความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ และ 5) F: (Freely available applications) แอปพลิเคชั่นที่พร้อมใช้งานได้อย่างอิสระ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Anohina, A. (2005). Analysis of the terminology used in the field of virtual learning. Educational Technology & Society, 8(3), 91-102.
Cooperation Technology Transfer Center 2nd. (n.d.). KM: Internet Training. Pathumthani Province. http://cttc.cpd.go.th/cttc2/images/pdf/Internet_Training_-_km20864.pdf
Department of Correction. (2017). Vision and mission. Department of Corrections Ministry of Justic (Thailand). http://en.correct.go.th/about-us/vision-and-mission/
Digital Government Development Agency. (2015). Digital Economy. DGA. http://thaipublica.org/2014/09/digital-economy/
Edubrite. (n.d.). What are digital learning and e-learning, and how do they differ?. Edubrite. https://www.edubrite.com/digital-learning-and-e-learning
Intarapoo, A., & Wanapiroon, P. (2021). Intelligent digital learning environment for enhancing teaching professional experience. Technical Education Journal, King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 12(1), 193-204.
Renton School District. (n.d.). Digital learning. Renton School District. https://www.rentonschools.us/learning-and-teaching/digital-learning
Sarnok, K. (2017, July 29). IoE links everything to smart classroom 4.0. [Conference session]. The National Academic Conference on Education 3th “NACE 2017: Innovation of learning” Meeting, Lampang, Thailand. https://www.edu.lpru.ac.th/eduresearch/nace2017/NACE2017.pdf
Suhonen, J. (2005). A formative development method for digital learning environments in sparse learning communities [Doctoral dissertation, University of Joensuu]. ResearchGate. https://www.researchgate.net/publication/4175122_FODEM_A_formative_method_for_developing_digital_learning_environments_in_sparse_learning_communities
Tick, A. (2020, March 2-4). Digital learning–sunshine and shadaw [Paper presentation]. 14th International Technology, Education and Development Conference, Valencia, Spain. https://doi.org/10.21125/inted.2020.1680
V-CUBE. (n.d.). What is LMS?. V-CUBE. https://www.v-cube.co.th/lms/
Wit, M., & Dompseler, H. (2017). How to create a digital learning environment consisting of various components and acting as a whole?. EUNIS. http://www.eunis.org/download/2017/EUNIS_2017_paper_16.pdf
Wongyai, W., & Patphol, M. (2019). Digital learning. Open Educational Resources. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/157821