การพัฒนาระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆสำหรับรับรองมาตรฐานการผลิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับงานประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานระบบ เพื่อรับรองมาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานการผลิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้วยทฤษฎีตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี (Technology acceptance model: TAM) และปัจจัยภายนอก (External factor) เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวนทั้งสิ้น 102 คน สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling: SEM) ได้ผลการวิจัยดังนี้ 1) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยี ขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางตรงของปัจจัยความคาดหวังประสิทธิภาพ; 2) ปัจจัยการรับรู้ความง่ายในการใช้งานเทคโนโลยี ขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางตรงของปัจจัยการคาดหวังในการใช้งาน และอิทธิพลทางสังคม และ 3) พฤติกรรมการใช้งานระบบ ขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางตรงของปัจจัยการรับรู้ความง่ายในการใช้งานเทคโนโลยี และขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางอ้อมของปัจจัยการคาดหวังในการใช้งานและอิทธิพลทางสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Alsmadi, D., & Prybutok, V. (2018). Sharing and storage behavior via cloud computing: Security and privacy in research and practice. Computers in Human Behavior, 85, 218-226. https://doi.org/10.1016/j.chb.2018.04.003
Chavoshi, A., & Hamidi, H. (2019). Social, individual, technological and pedagogical factors influencing mobile learning acceptance in higher education: A case from Iran. Telematics and Informatics, 38, 133-165. https://doi.org/10.1016/j.tele.2018.09.007
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340. https://doi.org/10.2307/249008
Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variable and measurement error. Journal of Marketing Research, 18(1), 39-50. https://doi.org/10.2307/3151312
Kanjanawasee, S. (2001). Thritsadī kānpramœ̄n [Evaluation Theory]. Chulalongkorn University Press.
Ploysuayngam, W., & Tangwannawit, S. (2020, March 27). The development of web application to manage for information on professional internship in teaching [Conference session]. North Bangkok University National Conference Academic Year 2020 "Development of Human Resources to Economics and Digital Society", Bangkok, Thailand. http://www.northbkk.ac.th/conference/wp-content/uploads/2020/04/Oral-IsT.pdf
Rodrigues, J., Ruivo, P., & Oliveira, T. (2014). Software as a service value and firm performance - a literature review synthesis in small and medium enterprises. Procedia Technology, 16, 206-211. https://doi.org/10.1016/j.protcy.2014.10.085
Sánchez-Prieto, J. C., Olmos-Migueláñez, S., & García-Peñalvo F. J. (2017). MLearning and pre-service teachers: An assessment of the behavioral intention using an expanded TAM model. Computers in Human Behavior, 72, 644-654. https://doi.org/10.1016/j.chb.2016.09.061
Song, C., Kim, S. W., & Sohn, Y. (2020). Acceptance of public cloud storage services in South Korea: A multi-group analysis. International Journal of Information Management, 51, 1-12. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2019.11.003
Stantchev, V., Colomo-Palacios, R., Soto-Acosta, P., & Misra, S. (2014). Learning management systems and cloud file hosting services: A study on students’ acceptance. Computers in Human Behavior, 31, 612-619. http://dx.doi.org/10.1016/j.chb.2013.07.002
Vu, K., Hartley, K., & Kankanhalli, A. (2020). Predictors of cloud computing adoption: A cross-country study. Telematics and informatics, 52, 101426. https://doi.org/10.1016/j.tele.2020.101426
Wu, B., & Chen, X. (2017). Continuance intention to use MOOCs: Integrating the technology acceptance model (TAM) and task technology fit (TTF) model. Computers in Human Behavior, 67, 221-232. http://dx.doi.org/10.1016/j.chb.2016.10.028