การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู และ 2) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูจำนวน 1,854 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จากสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู เป็นแบบวัดที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญ 9 คน มีค่าความเชื่อมั่น .99 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ (1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล (2) การจัดการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล (3) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (4) การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล (5) การสร้างสรรค์เทคโนโลยีดิจิทัล 2) สมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู ประกอบด้วย สมรรถนะ 60 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 1 ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 17 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 2 ด้านจัดการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 11 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 3 ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 13 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 4 ด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 10 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 5 ด้านการสร้างสรรค์เทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 9 ตัวบ่งชี้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Changkwanyeun, A., Kaewurai, K., Wongthai, W., & Lincharoen, A. (2021). Active learning approach to enhance digital citizenship. Journal of Education Naresuan University, 23(3), 452-465. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/240431
Children and Youth Development. (2020). Children and youth development report. Faculty of Social Sciences, Kasetsart University.
Haleem, A., Javaid, M., Qadri, M. A., & Suman, R. (2022). Understanding the role of digital technologies in education: A review. Sustainable Operations and Computers, 3, 275-285. https://doi.org/10.1016/j.susoc.2022.05.004
Kaewurai, R., & Chaimin, C. (2019). Learning space for digital natives in academic library. Journal of Education Naresuan University, 21(4), 366-378. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/152965
National statistical office ministry of digital economy and society. (2022). The 2022 household survey on the use of information and communication technology (quarter 1). National Statistical Office Thailand. http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/ICT/Survey%20In%20Household/2022/full_report_q1_2022.pdf
Office of the Basic Education Commission. (2010). Teacher competency assessment manual office of the basic education commission. The Ministry of Education. Kurusapa Ladprao Publishing.
Ongardwanich, N. (2021). Development of digital competence of high school students in the era of Thailand 4.0. Journal of Education Naresuan University, 24(4), 177-187. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/248922
Phakham, P., Intrasingh, S., & Assapaporn, N. (2021). Guidelines digital competence enhancement for undergraduate students of faculty of education, chiang mai university, in education 4.0 era. Journal of Graduate Research, 12(2), 119-131. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/250240
Phitthayasenee, M., Sengsri, S., & Sirichaisin, K. (2020). Guidelines for the development of digital technology competency of teacher students Rajabhat university. Lampang Rajabhat University Journal, 9(1), 64-73. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/240660
Poldech, S. (2018). The competency in information and communication technology of preservice teachers, Faculty of Education at Buriram Rajabhat University [Conference presentation]. 2nd National and International Research Conference 2018: NIRC II 2018, Buriram, Thailand. https://bit.ly/47mF6SB
Putwattana, P. (2021). Learning management for developing learners in digital age. Journal of Learning Innovation and Technology (JLIT), 1(2), 1-11. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/253671
Wisetsat, C., & Wisetsat, W. (2020). A need study to enhance pre-service teachers’ digital competencies. Journal of Yala Rajabhat University, 15(1), 105-116. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/170036
UNESCO. (2011). UNESCO ICT competency framework for teachers. UNESCO. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000265721