การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียน หลังการเรียนรู้ด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เปรียบเทียบผลสะท้อนคิดของผู้เรียน หลังการเรียนรู้ด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีรูปแบบของการวิจัยและพัฒนา 2 ระยะ ศึกษากลุ่มเป้าหมายเดียวที่มีการทดสอบหลังเรียนเท่านั้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 25 คน ที่มีความพร้อมในการเรียนรู้บนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ และ 3) แบบวัดผลสะท้อนคิดของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 2) ผลการศึกษาความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียน หลังเรียนรู้ด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 78.55 และคิดเป็นร้อยละ 78.55 อย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการศึกษาผลสะท้อนคิดของผู้เรียน หลังเรียนรู้ด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 63.73 และคิดเป็นร้อยละ 84.97 อย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Chaijaroen, S. (2014). The design and development of a network-based learning environment in conjunction with augmented reality technology based on Constructivist theory that promotes analytical thinking on the composition of a computer system topic for students grade 7. Veridian E-Journal, Silpakorn University, Humanities, Social Sciences, and Arts, 12(2), 1906 -3431. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/147809/146655
Hanjangsit, B., & Chaijarean, S. (2019). The design and development of a network-based learning environment in conjunction with augmented reality technology based on the constructivist theory that promotes analytical thinking computer system components for students in grade 7. Veridian E-Journal, Silpakorn University. Humanities, Social Sciences, and Arts, 12(2), 846-866. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/147809/146655
Imcham, S., & Na-Songkhla, J. (2020). Effects of online scaffolding chatbot on Computational thinking of tenth grade students with different personalities. STOU Educational Journal, Sukhothai Thammathirat open university, 13(1), 45-57. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/download/231423/165759/844801
Insaard, S. (2020, July 10). Management of network-based learning environment. Educational Technology Department. http://www.edu.ru.ac.th/et-ram/techno/images/environment.pdf
The institute for the promotion of teaching science and technology, (2020, November 23). Computational thinking. IPST leaning space. https://www.scimath.org/lesson-technology/item/10560-2019-08-28-02-43-20
Kanlayaprasit, N. (2021). Developing computational thinking using STEM-problem based learning in momentum and collisions topic for 10th Grade Students. Dhammathas Academic Journal, 21(4), 34-44. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/250140/171412
Khuan Kalong Wittayakhom Nikhomwattana school. (2021, June 17). Self assessment report. Quality Assurance. https://sites.google.com/site/sarkklschool
Lateh, A. (2022) Classroom research. I.J. SIAM.
Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council. (2019). National education act, 1999. Policy Council. https://www.nxpo.or.th/th/1080-2
Office of the Education Council. (2017). The national education plan B.E. 2017-2036. Education Plan. https://www.stou.ac.th/Offices/Oaa/OaaOldPage/Professional/Train_Professional/oaaInfo/oaa/Dept/Dept04/webcur63/Rule_MUA/Plan_Inter2560-2579.pdf
Piaget, J. (1965). The psychology of intelligence. Rout ledge and Kegan Paul.
Srichompol, N., & Somabut, A. (2020). The development of web-based learning environment base to enhance media and information literacy on the topic the computer learning for prathomsuksa students. Journal of Graduate School, 17(76), 105-116. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/161592
Tiansawad, S. (2019, January 1). Content validation. FON CMU. https://www.nurse.cmu.ac.th/web/researchReleaseDetail.aspx?id=5092