ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร: สู่กรอบสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและกำหนดนโยบาย

Main Article Content

ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกิดภาวะล้นทะลักและการขาดความน่าเชื่อของข้อมูลข่าวสารที่ไหลเวียนในพื้นที่การสื่อสาร ซึ่งเป็นเรื่องยากในการตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ใช้สื่อทั่วไป ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิต แพร่กระจาย และขยายข้อมูลผิดบิดเบือนข้ามพรมแดนจนทำให้เกิดมลภาวะทางข้อมูลข่าวสารขึ้น ปรากฏการณ์์นี้ได้รับการศึกษาและนำเสนอในรายงานเรื่อง ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร: สู่กรอบสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและกำหนดนโยบาย เป็นรายงานที่ประกอบด้วยแนวคิดความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร ปัญหาของตัวกรองฟองสบู่และห้องแห่งเสียงสะท้อน ระยะและองค์ประกอบของความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร พร้อมกับการนำเสนอกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนข้อวิพากษ์ต่อเนื้อหาในรายงานนี้ พบว่า ยังมีความท้าทายสำหรับผู้ใช้สื่อออนไลน์ในการแยกแยะประเภทความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษกับภาษาอื่น การได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจจากการแพร่กระจายข้อมูลผิดบิดเบือนของเจ้าของแพลตฟอร์ม และการครอบงำทางอุดมการณ์ของแพลตฟอร์มต่าง ๆ

Article Details

บท
บทวิจารณ์หนังสือ

References

Government Data Catalog. (2022, January 25). Khả xṭhibāy doy laxeīyd k̄hxng chud k̄ĥxmūl [Details of Metadata]. Government Data Catalog. https://gdhelppage.gdcatalog.go.th/p00_03_006.html

Statista. (2021, May 1). Number of fake news contributors in Thailand between 2020 and 2021, by type of contribution. Statista. https://www.statista.com/statistics/1290891/thailand-number-of-fake-news-contributors-by-type-of-contribution

Wardle, C., & Derakhshan, H. (2017). Information disorder: Toward an interdisciplinary framework for research and policy making. Council of Europe.

Yeenang, B. (2020 November 13). ‘Filter Bubble’ Kalā h̄ạw læa p̣hāwa lok khū̀ khū̀ [Filter Bubble: the dominated social world learning and political multiverse]. The Momentum. https://themomentum.co/filter-bubble