ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ และแอปพลิเคชันมายด์มีสเตอร์ที่มีต่อความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบและแอปพลิเคชันมายด์มีสเตอร์ และ 2) ศึกษาคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทางความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบและแอปพลิเคชันมายด์มีสเตอร์ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 42 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 แผน ใช้เวลา 8 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมติฐาน t-test dependents และการวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ (Development Score or Gain Score)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์หลังจากการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ความสามารถการคิดเชิงวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้เฉลี่ยอยู่ในระดับพัฒนาการระดับกลางและนักเรียนมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 35.47
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of education objective the classification of educationalgoals-handbook 1: Cognitive domain. Longmans.
Chanyam, P., & Suwannatthachote, P. (2020). Using an activity package with online collaborative graphic organizer in project-based learning upon creative problem-solving ability in business and ethics of undergraduate students. Journal of Education Studies, 48(3), 228-240. http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ejournals/openpdf/openpdf.php?id=12724
Charoensri, N., & Sitti, S. (2021). Development of analytical reading skills by using Cippa model learning management along with six thinking hats technique of grade 7 students. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(6), 169-188. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/249305/168857
Chawanit, S. (2014). Wikhro̜ bot lakhō̜n phūt kham chan rư̄ang Madanapatha phāthā tām lak ʻariyasat sī [Analysis of the literature on Madanapatha]. EAU Heritage Journal Science and Technology, 8(1), 188-191. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/25536
Chitchamnong, D. (2009). Khwāmsamkhan khō̜ng kānsưksā wannakhadī Thai nai sangkhom phahu watthanatham [The importance of studying Thai literature in a multicultural society]. Rusamilae Journal, 30(3), 66–69. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/70861
De Bono, E. (1985). Six Thinking Hats. Penguin Books
De Bono, E. (1992). Six thinking hats. McQuaig Group.
Deepan, K., Anaman, A., & Yahakorn, S. (2019a). The effects of the using the GPAS learning method on critical reading ability and satisfaction with learning management of mathayomsuksa v studens at Benchamatheputhit Petchaburi School. Journal of Educational Administration Silpakorn University, 10(2), 103-112. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/239968/163589
Fitz-Gibbon, & Carol, T. (1987). How to design a program evaluation. Sage.
Gall, M. D., Borg, W. R., & Gall, J. P. (1996). Educational research: An introduction. Longmans.
Institute of Academic Development. (2018). The participatory action research to improve learning quality using Active learning under GPAS 5 Steps approach for increasing multiple intelligences and 21st century competences to Thailand 4.0. Institute of Academic Development
Kanjanawasee, S. (2013). Classical test theory. Chula book.
Kerdon, P., Inthraphan, R., Sukying, F., & Sahachatkosi, K. (2008). Phāsā Thai wannakhadī læ wannakam mǭ. hā [Thai language, literature and literature, Mathayom 5]. Aksorn
Kruangkam, K., & Pengpoom, B. (2023). The development of academic achievement in the Thai language using a literature-based approach with mind mapping learning management for matthayomsuksa 2 students. Journal of Legal Entity Management and local Innovation, 9(7), 735-747. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/265309
MeisterLabs GmbH (2007). Mindmeister (Version 9.0.1) [Mobile app]. MeisterLabs GmbH. https://www.mindmeister.com
Ministry of Education. (2008). Laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt sō̜ng phan hāra ʻaya hā sip ʻet [Basic Education Core Curriculum 2008]. Kurusapa Ladprao Printing House.
Srihawong, P., Vanichwatanavorachai, S., & Nancharut, P. (2019). The development of critical thinking abilities of eighth grade students taught the Gpas. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 6(6), 315-329. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/245528/168406
Srisuwan, S., & Makjui, A. (2015). The study of critical reading ability of the undergraduate students using Six Thinking Hats technique. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 1238-1250. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/40312/33263
Sternberg, R. J. (1985). Beyond IQ: A triarchic theory of human intelligence. Cambridge University.
Thai Languages Department Woranari Chalerm Songkhla School. (2022). ʻĒkkasān prakō̜p laksūt klum sāra kānrīanrū phāsā Thai chabap prapprung Phō̜.Sō̜. 2565. [Curriculum documents Thai language department, revised ed. 2022]. Woranari Chalerm Songkhla School.