การศึกษาเชิงวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลนวนิยายเรื่อง “อิท” สำนวนการแปลโดย สุวิทย์ ขาวปลอด

ผู้แต่ง

  • สิริกาณจน์ อนันตาวงษ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • นครเทพ ทิพยศุภราษฏร์
  • สุชาดา นิมมานนิตย์
  • อภินันท์ วงศ์กิตติพร

คำสำคัญ:

การปรับบทแปล, กลวิธีการแปล, นวนิยาย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการปรับบทแปลและกลวิธีการแปลจากนวนิยายเรื่อง “อิท” (It)  ประพันธ์โดย สตีเฟ่น คิง และแปลโดย สุวิทย์ ขาวปลอด เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการศึกษาทั้งหมดจำนวน 23 ตัวอย่าง โดยใช้หลักเกณฑ์ของ สัญฉวี สายบัว (2560) และ โมนา เบเคอร์ (2554) โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ระดับคำและระดับโครงสร้าง จกการศึกษาพบว่า การปรับระดับคำที่พบมากที่สุดคือการใช้วลีหรือประโยคแทนคำ รองลงมาคือการใช้คำที่อ้างอิงถึงความหมายที่กว้างขึ้นแทนคำอ้างอิงถึงสิ่งที่เฉพาะกว่า ในส่วนการปรับบทแปลระดับโครงสร้างภาษาที่พบมากที่สุดคือการใช้ระดับเสียงหรือการทับศัพท์ รองลงมาคือการปรับระเบียบวิธีเรียงคำในประโยคหรือวลี นอกจากนี้กลวิธีที่ใช้การปรับบทแปลนั้นส่วนใหญ่จะมีลักษณะการแปลแบบตรงตัว เพื่อเป็นการแปลที่พยายามรักษารูปแบบของการถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับไว้ในฉบับแปลให้ได้มากที่สุด

References

สตีเฟ่น คิง. (2556) อิท. แปลโดย สุวิทย์ ขาวปลอด. กรุงเทพฯ : วรรณวิภา.

ชฎาภรณ์ แสงจันทร์ทิพย์, นครเทพ ทิพยศุภราชฎร์ และ ศิริมน ศรีนพรัตน์. (2560). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติ เรื่อง บ๊อบ แมวแตะฝันข้างถนน”., ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 วันที่ 17 สิงหาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี (หน้า 950- 959).

ดวงตา สุพล. (2541) ทฤษฎีและกลวิธีการแปล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษรา เผดิมโชค, นครเทพ ทิพยศุภราษฎร์ และ บุษกร วิชชุลตา (2559). การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลวรรณกรรมเยาวชนเรื่องเด็กชายในชุดนอนลายทาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, ปีที่2559 (ฉบับที่1), หน้า129.

ภาดิตถ์ พรหมขำ, นครเทพ ทิพยศุภราษฎร์. (2559). การวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปล วรรณกรรมเรื่อง “ขุนทอง-เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง” และ“เธอยังมีชีวิตอยู่ อย่างน้อยก็ในใจฉัน. ในการประชุมระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งงยืน ครั้งที่ 6 วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, (หน้า 328-336).

สมพิศ เครือโชติ. (2558). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลวรรณกรรมเยาวชน ชุดนาร์เนีย เรื่อง “ตู้พิศวง”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ (ฉบับที่) 93-102.

สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2561). แปลผิดแปลถูก. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-12-2021

How to Cite