ความรู้ความเข้าใจในหลักการประชาธิปไตยและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พงษ์เมธี ไชยศรีหา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ความเข้าใจในหลักการประชาธิปไตยของประชาประชาธิในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 2) ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งและมีที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จำนวน 23,694 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 393 คน จากการคำนวณตามสูตรของ Taro Yamane (1973) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและแบบง่าย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจในหลักการประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ด้านหลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 34.1 ระดับปานกลาง ร้อยละ 41.5 และระดับน้อย ร้อยละ 24.4 ด้านหลักเสรีภาพ ในระดับมาก ร้อยละ 30.8 ระดับปานกลาง ร้อยละ 50.9 และระดับน้อย ร้อยละ 18.3 ด้านหลักความเสมอภาค ร้อยละ 35.9 ระดับปานกลาง ร้อยละ 44.8 และระดับน้อย ร้อยละ 19.3 ด้านหลักกฎหมาย ร้อยละ 41.9 ระดับปานกลาง ร้อยละ 36.9 และระดับน้อย ร้อยละ 21.2 ด้านหลักเสียงข้างมาก ร้อยละ 53.5 ระดับปานกลาง ร้อยละ 30.5 และระดับน้อย ร้อยละ 16.0 2) ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้ดังนี้ สถาบันทางการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X} = 4.62) รองลงมาเป็น สถาบันทางการเมือง ( gif.latex?\bar{X}  = 4.54) สถาบันครอบครัว ( gif.latex?\bar{X}  = 4.53) สื่อสารมวลชน ( gif.latex?\bar{X}  = 4.45) และด้านศาสนา (gif.latex?\bar{X}  = 4.42) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธรรมรัตน์ ธรรมยาฤทธิ์. (2559). แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาล เมืองเพรชบูรณ์ จังหวัดเพรชบูรณ์. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

นริศ จันทวรรณ. (2558). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง. วารสารวิชาการ.มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

บุญทัน ดอกไธสง. (2555). ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ:ปัญญาชน.

บุญทัน ดอกไธสง. (2559). เอกสารประกอบการบรรยาย “นโยบายสาธารณะศาสตร์”. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วังน้อย).

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2558). ประชาธิปไตยในยุคเปลี่ยนผ่าน. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

พรภิรมณ์ ศรีทองคำ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์.(2558).ทัศนคติการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลบ้านช้าง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2).

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2557). วัฒนธรรมทางการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตชนบทอีสาน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตหมู่บ้านคำบงและหมู่บ้านสะอาด ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น.
วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3, 56-57.

ลิขิต ธีรเวคิน.(2557,สิงหาคม). วัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตย. ผู้จัดการ, น. 12.

วงธรรม สรณะ.(2557). พฤติกรรมประชาธิปไตยของประชาชนในท้องถิ่น : ศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. (งานวิจัยหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ , มหาวิยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และสุเชาว์ ชยมชัย. (2558). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ในการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่6, 26 มิถุนายน 2558. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2551). ปัจจัยภูมิหลัง วัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำเยาวชนไทย. (งานวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

สัญญา เคณาภูมิ. 2559. การตัดสินใจทางการเมืองแบบวิถีประชาธิปไตย : แนวคิดและรูปแบบลักษณะ (Political Decision on the Democratic Way of Life : Concept and Forms) มนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 33 (2), 89-120.

สุรชัย ศิริไกร. (2550). การพัฒนาประชาธิปไตยโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและจริยธรรมทางการเมือง. ในการประชุมวิชาการเรื่อง วัฒนธรรมทางการเมือง จริยธรรม และการปกครอง ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ, 8-10 พฤศจิกายน 2550. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ.

Dawson, R.E. & Prewitt, K. (1969). Political Socialization. Boston : Little Brown and Co.Lucian, P. (1962). Politics,
Personality, and Nation Building: Burma’s Search for Identity. New Harven: Yale University Press.

Ozlem, B. y. (2015). A new political perspective: simulative democracy. 27 April 2016 , 23rd International Conference, Venice.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row.