พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560) เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง

Main Article Content

พระนิทัศน์ วงศ์วังเพิ่ม
กิตติพงษ์ พิพิธกุล

บทคัดย่อ

     พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560) ในมาตรา 7 เพื่อมาแก้ปัญหาอุดช่องว่างของ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535) เกี่ยวกับหมวดการสถาปนาแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช เดิมทีก่อนมีการแก้ไข มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชทำให้เกิดปัญหาการตีความและถกเถียงข้อกฎหมาย จึงไม่สามารถสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้


     ดังนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงได้ตรากฎหมายเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560) กล่าวคือ มาตรา 7  พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งและให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ปัจจุบันมีสมเด็จพระสังฆราชไทยองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร และมาตราอื่นๆ ยังคงยึดตามตัวบทกฎหมายของ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535) เหมือนเดิม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (แก้ไข เพิ่มเติม ฉบับที่ 3พ.ศ. 2560)

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499

พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477