ปัจจัยด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน ประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบสถานภาพทั่วไปกับปัจจัยด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน ที่จดทะเบียนกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ ประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 234 คนสุ่มตัวอย่างแบบหลายขันตอนใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ f-rest ผลการศึกษาพบว่า
1) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนทัง 7 ด้านอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ด้านการวางแผน ด้านการจัดการกลุ่ม ด้านการจัดคนเข้าทำงาน ด้านการสังการ ด้านการประสานงาน ด้านการรายงาน ด้านการจัดทำงบประมาณ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนโดยภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) เปรียบเทียบสถานภาพทั่วไปกับปัจจัยด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน จำแนกตาม จำนวนสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรายได้เฉลี่ยของกลุ่ม จำนวนเงินทุนของกลุ่ม ระยะเวลาในการจัดตั้งกลุ่ม พบว่า รายได้เฉลี่ยของกลุ่ม จำนวนเงินทุนของกลุ่ม ระยะเวลาในการจัดตังกลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น จำนวนสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมขน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
บำเพ็ญ เขียวหวาน และคณะ (2556). โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการการพัฒนารูปแบบการบูรณาการ เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน ระดับอำเภอ : กรณีอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ :กระทรวงพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์.
ปิยะดา พิศาลบุตร. (2557). กลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ และคณะ. (2550). โครงการศึกษาจัดวางรูปแบบแผนงานเกษตรอินทรีย์เชิงท่องเที่ยวและการฝึกอบรมให้ความรู้และอาชีพ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2555). แนวคิดและความหมายของการบริหารและการบริหารจัดการ. (ออนไลน์) ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559, จาก https://wwww.wiruch.com/.
สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล. (2555). วิสาหกิจชุมชน . (ออนไลน์) ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2557, จาก http:// www.gotoknow.org
สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วิสาหกิจชุมชน. (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2559, จาก http://www.http://mueang.ohetchabun.doae.go.th/index1.html.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2557). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ (2559). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ 4 ปี (พ.ศ. 2558-2561), (ฉบับทบทวน). เพชรบูรณ์ : กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด.
สุชาดา แสงดวงดี และคณะ (2557). รูปแบบการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครปฐมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง . วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
สุทธนู ศรีไสย์ (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ จิราภาการพิมพ์. เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา.
อานันท์ ตะนัยศรี. (2556). รูปแบบและปัจจัยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของขุมชนด้วยศักยภาพเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.