การจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

กิตติพงษ์ พิพิธกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ในการ วิจัยได้แก่ ข้าราชการสวนท้องถิ่นที่ปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน จังหวัด ร้อยเอ็ด จำนวน 2,204 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยการใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ได้จำนวนตัวอย่างเท่ากับ 339 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมัน เท่ากับ 0,94 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ด้วยโปรแกรม AMOS ผลการวิจัยปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การจัดการภาครัฐแนวใหม่มีอิทธิพลทางบวกโดย อ้อมผ่านตัวแปรด้านวัฒนธรรม องค์การไปยังประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีค่าอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.314 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และส่งผลต่อด้านสมรรถนะการบริหารงาน เท่ากับ 0.619 แต่การจัดการภาครัฐแนวใหม่ไม่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลการบริหารงาน ส่วนตัวแปรด้านวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ตัวแปรด้านสมรรถนะไม่มีอิทธิพล ทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2558 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

กรรณิการ์ โพธิลังกา และ สุทธินันท์ พรหมสุวรรณ. (2557). การศึกษาลักษณะส่วนบุคคล วัฒนธรรมองค์กร ลักษณะสร้างสรรค์และสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการในย่านธุรกิจอโศก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 9 (2),91-92.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559), การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEV) ด้วย AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

จุมพล หนิมพานิช. (2553). การบริหารจัดการภาครัฐใหม่ หลักการ แนวคิด และกรณีตัวอย่างของไทย. พิมพ์ ครั้งที่ 3. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไชยา ยิ้มวิโล. (2557). พัฒนาการรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารรัฐกิจ : จากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (2550). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์รัตนไตร.

ธณัฐพล ชะอุ่ม , (2558), ตัวแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางของประเทศไทย. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

นราธิป ศรีราม, กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย และ ชลัช ชรัญญ์ขัย. (2557), การสังเคราะห์แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่. รายงานการวิจัย. นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปริณ บุญฉลวย. (2556), วัฒนธรรมองค์การ องค์การแห่งการเรียนรู้ กับประสิทธิผลองค์การของศาลยุติธรรมตัวแบบสมการโครงสร้าง, วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2549), หลักการและการใช้สถิติการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวแปรสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. สงขลา : จ.เอกสาร

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

ศิลปกรณ์ จันทไซย. (2553), สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนที่ส่ง ผลต่อประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2 (G), 152-160.

สายใจ สีแจ้, เก็จกนก เอื้อวงศ์ และนงเยาว์ อุทมพร. (2559), สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 9 (2). 225-235,

สุรพร เสียนสลาย. (2548) "การประยุกต์ใช้แนวคิดและผลการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์." ในเอกสารการสอนชุดวิชาขอบข่ายการศึกษาและการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัมพร ธำรงลักษณ์. (2556), การบริหารการปกครองสาธารณะ : การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Christensen, and Laegreid. (2013). The ashgate research companion to new public manage-ment. London: Ashgate Publishing.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3 ed, New York Herper and Row.