เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ภายใต้การบังคับ ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560

Main Article Content

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล
สุรีย์ลักษณ์ รักษาเคน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขอบเขตของการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ตามที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายระดับอื่นที่มีผลเป็นการ จํากัดการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน อย่างเช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความ ผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 โดยเงื่อนไขการจํากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่กําหนดไว้ในกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและทางการเมืองเป็นเกณฑ์


การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเอกสารโดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกสารอยู่ 4 ประการ ได้แก่ ความจริง ความน่าเชื่อถือ การเป็นตัวแทน และการใช้เกณฑ์ความหมาย


ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 มีผลเป็นการจํากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนแม้จะถูกตราขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์ที่ รัฐธรรมนูญกําหนดก็ตามหากแต่กลับมีเนื้อหาที่ให้อํานาจแก่รัฐ ให้มีอํานาจดําเนินการอันเป็นการรุกล้ําเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนได้จนเกินสมควรอันขัดต่อหลักความได้สัดส่วน อีกทั้งยังกําหนด กระบวนการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลเป็นการรุกล้ําเสรีภาพ ของประชาชนต่างจากที่รัฐธรรมนูญกําหนด อันขัดแย้งกับหลักของการจํากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของประชาชนที่ปรากฏในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและทางการเมืองตลอดจนหลักการพื้นฐาน ที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บวรศักดิ์ อวรรณโณ. (2538), กฎหมายมหาชน เล่ม 3: ที่มาและนิติวิธี กรงเทพฯ : สํานักพิมพ์นิติธรรม.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2543) เงื่อนไขในการตรากฎหมายจํากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน, “มาตร” ในการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย. วารสารนิติศาสตร์, 30(2) , 190-191.

Davis., H. T. (2010). Freedom of Expression in Time of Crisis. "Guidelines of the Committee of Ministers of the Council of Europe. Retrieved 20 December, 2010, from P.5 http://www.un.org/en/sc/ctc/specialmeetings/2011/docs/coe/coe-guidelines-crisis-en.pdf

ETDA. (2017). คนไทยใช้เน็ตอย่างไร? ในปี 60. {Online}. Retrieved 29 กันยายน, 2017, from https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017.html

iLaw. (2559). เวทีสนช.ยัน ห้าใช้พรบ.คอมฯ ฟ้องหมิ่นประมาท แต่ยืนกราน “ข้อมูลเท็จ” ยังเป็นความผิด.{ออนไลน์ ค้นเมือ29 พฤศจิกายน, 2559,เข้าถึงได้จาก https://ilaw.or.th/node/4338

iLaw. (2560), พรบคอม แก้ไขใหม่แล้ว คดี”ปิดปาก” มีแต่แนวโน้มจะเพิ่มขึ้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม, 2560, จาก https://ilaw.or.th/node/4399

Institude, S. T. (2560) จํานวน (สถิติ) ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. {ออนไลน์) ค้นเมื่อ 29 กันยายน, 2560, จาก http://socialtech.or.th/post/cchamnwnphuuaichngaan-ineth-rent-aithy-pi-2560

Lingens, V. (1986). European Court of Human Rights. Autria.

Mogalakwe, M. (2006). The use of documentary research methods in social research. African sociological review. (Vol. 10(1).

Oakes, R. v. (1986). The Inter-American Court of Human Rights,

TheWord. (1986). The Word “ Laws" in Article 30 of the American Convention on Human Rights, Advisory Opinion OC-6/86, May 9, 1986,