ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

Main Article Content

ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาภาคปกติกับนักศึกษาภาคปกติ กศปช. เกี่ยวกับการเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาโดยการลงทะเบียนในระบบของมหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการ ประจำปีการศึกษา 2561 ทุกคนซึ่งจำแนกออกเป็นนักศึกษาภาคปกติ (เรียนวันจันทร์ - วันศุกร์) จำนวน 200 คน และนักศึกษาภาคปกติ กศปช. (เรียนวันเสาร์ - วันอาทิตย์) จำนวน 64 คน รวมทั้งสิ้น 264 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอนได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) การหาค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) การหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t - test) แบบ Two Sample Independent t – test


          ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สำนักวิชารัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.13) เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อยได้ 3 ลำดับ คือ ด้านอาจารย์ผู้สอน (x̄ = 4.38) ด้านหลักสูตร (x̄ = 4.22) และด้านค่านิยมของนักศึกษาและผู้ปกครอง (x̄ = 4.17) สำหรับการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาภาคปกติและนักศึกษาภาคปกติ กศปช. โดยรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอาชีวศึกษา (2542) การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา.

ดลฤดี สุวรรณคีรี. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ. วารสารพัฒนาสังคม,9(1), 157-174. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

นัทธี จิตว่าง. (2556). รัฐประศาสนศาสตร์ที่เน้นพฤติกรรมศาสตร์และการส่งเสริมจุดอ่อนจากรัฐประศาสนศาสตร์ ยุค “หลังพฤติกรรมศาสตร์”.{ออนไลน์}. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2561, จาก http//www.goto know.org/posts/539433

บุญชัย รุ้งวิริยวงศ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัยทองสุขรุ่น 24. {ออนไลน์}. ค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2561,จาก http//www.thongso ok.ac.th. /main/admin/upload/FacultyOfGrad/699-file-recearchstd1.pdf

บุญทัน ดอกไธสง. (2553). ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2557). ทำไมระบบการศึกษาไทยจึงให้ความสำคัญเพียงใบปริญญา???. {ออนไลน์}. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http//piriya-pholphirul.blogspot.com/2014/11/blogport.html

รัฐสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อรพรรณ ฤทธิ์มั่น และบัลลังก์ โรหติเสถียร. (2559). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 34/2559 สานพลังประชารัฐ “รัฐ-เอกชน-ประชาสังคม” ร่วมยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา. {ออนไลน์}. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2561, จาก http//www.moe.go.th/websm/2016/jan/034.html

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2560). Thailand 4.0 ข้าราชการไทย 0.4 และการศึกษาไทย 0.04 เราจะเริ่มฝันหรือทำฝันให้เป็นจริง. {ออนไลน์}. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2561, http://www.manager.co.th/Local/ ViewNews.aspx?NewID=9600000076341

ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (2557). คนยุคใหม่เลือกรับราชการ ชี้ “บิ๊กตู่” แม่เหล็กดูด- “เงินดี-มั่นคงสูง”. {ออนไลน์}. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2561, http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx? NewsID=9570000108097