วัฒนธรรมองค์การและการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

ประกอบ คงยะมาศ
เกรียงศักดิ์ แก้วนาค
พิชัยรัฐ หมื่นด้วง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)ศึกษาวัฒนธรรมองค์การและการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การและการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู 3)ศึกษาอิทธิพลวัฒนธรรม


องค์การและการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู และ 4)เสนอแนวทางการสร้างประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 354 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7 คน และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมองค์การและการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสหสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง มีค่า r ระหว่าง 0.67-0.79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 และมีตัวแปรอิสระจำนวน 7 ตัวแปรมีอิทธิพลพยากรณ์ตัวแปรตามประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบปรับตัว วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ วัฒนธรรมแบบเครือญาติ  การวางแผนกลยุทธ์ในการให้บริการสาธารณะ การจัดสรรงบประมาณ การวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการจูงใจและให้รางวัลตอบแทน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ – อปท) ประจำปีพ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2560, จาก www.dla.go.th/upload/ebook/columm/2017/3/2196_5923.pdf.

_____.(2560). รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ – อปท) ประจำปี พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2560, จาก www.dla.go.th/upload/ebook/columm/2017/10/2212_5973.pdf.

กอบชัย มณีตัน และปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับผลสำเร็จในการดำเนินงานตามพันธกิจของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. Veridian E-Journal (Humanities, Social Science, and Arts), 9(2) , 2202 – 2205.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. (2554). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM) = Result-based management. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ออฟ เคอร์มีสท์.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แววดาว พรมเสน. (2554). การวิจัยเชิงปริมาณ. วารสาร มทร.อีสาน, 4(1), 99-100.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุษณี มงคลพิทักษ์สุข. (2560). วัฒนธรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยุคไทยแลนด์ 4. วารสารร่มพฤกษ์,
35(2), 143-164.

Cameron, K.S. (2008). Positive Leadership : Strategies for Extraordinary Performance. San Fracisco, CA : Berrett - Kohler Publisher Inc.

Cameron, K.S., & Quinn, R.E. (2006). Diagnosing and Changing Organization Culture : Based on the Competing Values Framework. Sanfrancisco, CA : Jossey-Bass.

Gibson, J.L., Ivancevich, J.M., & Donnelly, J.H. (2003). Organization : Behavior, Structure, Processes (11thed.). New York : McGraw – Hill.

Gravetter, F.J., & Wallnau, L.B. (2004). Statistics for the Behavioral Sciences (6thed.). Belmont : Wadsworth.

Kelley, K., & Maxwell, S.E. (2003). Sample size for multiple regression : Obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychological Methods, 8(3), 305-321.

Kusek, J.Z., & Rist, R.C. (2004). Ten Steps to a results-based monitoring and evaluation System :A handbook for development practitioners. Washington, D.C. : The International Bank for Reconstruction and development/ The Word Bank.

Likert, R. (1961). New Patterms of Management. New York : Mcgraw-Hill Book Company Inc.

Schermerhorn, J., Hunt, J.G., & Osborn, R.N. (2005). Organizational behavior (8thed.). USA : John Wiley & Sons, Inc.

Thibodeaux, M.S., & Favilla, E. (1996). Organizational effectiveness and commitment through strategic management. Industrial Management & Data Systems, 96(5), 21-25.

Williams, R.S. (1998). Performance Management : Perspectives on Employee Performance. London : International Thomson Business Press.

Yamane T. (1973). Statistics an introduction analysis . New York: Harper & Row.