การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำสับปะรดแปรรูปที่ทันสมัย กลุ่มสับปะรดหวานแปรรูป หมู่บ้านโป่งกระทิงบน การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำสับปะรดแปรรูปที่ทันสมัย กลุ่มสับปะรดหวานแปรรูป หมู่บ้านโป่งกระทิงบน

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ
ฐิติวรรณ สินธุ์นอก
สุธรรม ศิวาวุธ
สมพงษ์ อัศวริยธิปัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์น้ำสับปะรดแปรรูปที่ทันสมัย ของกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดหวานและแปรรูป หมู่บ้านโป่งกระทิงบน เพื่อศึกษาช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำสับปะรดแปรรูปที่ทันสมัย ของกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดหวานและแปรรูป หมู่บ้านโป่งกระทิงบน และเพื่อพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์น้ำสับปะรดแปรรูปที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ของกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดหวานและแปรรูป หมู่บ้านโป่งกระทิงบน ใช้วิธีวิจัยแบบเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดหวานและแปรรูป หมู่บ้านโป่งกระทิงบน จำนวน 150 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดหวานและแปรรูป หมู่บ้านโป่งกระทิงบน จำนวน 150 คน ส่วนใหญ่เพศหญิง มากที่สุด จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 60.0 ส่วนใหญ่อายุ มากกว่า 41 ปี มากที่สุด จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 40.0 ส่วนใหญ่รายได้ต่อเดือน 9,001-15,000 บาท มากที่สุด จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 60.0 บรรจุภัณฑ์น้ำสับปะรดแปรรูปที่ทันสมัยพบว่า ด้านรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ ส่วนใหญ่มีความต้องการ ทรงสี่เหลี่ยม มากที่สุด จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 60.0 ด้านลักษณะผิวของบรรจุภัณฑ์ ส่วนใหญ่มีความต้องการ ผิวใส มากที่สุด จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 73.3ช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำสับปะรดแปรรูปที่ทันสมัยพบว่า ด้าน Offline ส่วนใหญ่ขายผลิตภัณฑ์ผ่านทาง ห้างสรรพสินค้า มากที่สุด จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 53.3 ด้าน Online ส่วนใหญ่เลือกผ่านทาง Facebook มากที่สุด จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 67.7ความพึงพอใจรูปแบบบรรจุภัณฑ์น้ำสับปะรด ด้านตัวบรรจุภัณฑ์ โดยภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.044 ด้านสติ๊กเกอร์บนตัวบรรจุภัณฑ์ โดยภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.029

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจษฏาพล กิตติพัฒนวิทย์ (2561). การศึกษาและพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่ระลึก โดยการประยุกต์เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 28-40

นคเรศ ชัยแก้ว (2555). การศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ลำไยอบแห้ง จังหวัดลำพูน. วารสารศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 3(2), 86-95.

ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร (2555). ความรู้พื้นฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์. สืบค้นจาก https://netra.lpru.ac.th/~weta/c1/c1_print.html

วัลลภ เปรมานุพันธุ์, สูนฤต เงินส่งเสริม, สุริยา สงค์อินทร์, วิจัย พรมาลัยรุ่งเรือง และนงค์นุช กลิ่นพิกุล (2547). รายงานการวิจัยการออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรและกลุ่มส่งเสริมอาชีพของจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.