เกษตรอินทรีย์วิถีสู่สังคมเกษตรยั่งยืน : ยุทธศาสตร์พัฒนาข้าวอินทรีย์

Main Article Content

กิตติพงษ์ พิพิธกุล

บทคัดย่อ

          เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตแบบทางเลือกอีกรูปแบบหนึ่ง ที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม การรักษาสมดุลธรรมชาติสำหรับการผลิตที่ปราศจากการใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ไม่ใช้วิธีตัดแต่งสารพันธุ์กรรม และสารฮอร์โมน เป็นการจัดการผลผลิตแบบองค์รวม ซึ่งถือว่าเป็นการจัดการผลผลิตทางการเกษตรแบบทางเลือก แนวทางการลดต้นทุนการผลิต การทำเกษตรอินทรีย์ แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ แบบพึ่งพาตนเอง และเกษตรอินทรีย์ที่รับรองมาตรฐาน จากสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ในปัจจุบันผู้บริโภคมีแนวโน้มที่ตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญ เป็นไปตามกระแสการบริโภคอาหารปลอดภัยของต่างประเทศ สำหรับผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศมากที่สุดได้แก่ ข้าวหอมมะลิ คิดเป็นร้อยละ 96.0 รองลงมาคือ พืชผัก ผลไม้ รวมทั้งสัตว์น้ำ เช่น กุ้งและปลา คิดเป็นมูลค่าการส่งออก ประมาณ 13,000 บาท หรือประมาณ ร้อยละ 0.15 ของตลาดโลก ซึ่งถือว่าไทยส่งออกน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการบริโภคของทวีปอเมริกาและยุโรป สำหรับโอกาสของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ยังถือว่าเป็นโอกาสสำคัญของเกษตรกรไทย ที่สามารถจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ตามความต้องการของตลาดโลก คิดมูลเป็นค่าหลายพันล้านบาทต่อปี ตลาดที่สำคัญ ได้แก่ อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ที่สามารถรองรับการผลิตได้อีกมาก ถ้าเกษตรกรไทยให้ความสำคัญต่อเกษตรอินทรีย์ ก็จะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้และความมั่งคั่งในการทำเกษตรแบบยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมวิชาการเกษตร. (2543). มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงพาณิชย์. (2557). สถิติการค้าระหว่างประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 จาก, http://www.moc.go.th

กรีนเนท. (2557). สถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559.จาก, http://www.greenet.or.th/article/organic-farming.

เดชพันธุ์ สวัสดี. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์ไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการพลเรือน.

วราภรณ์ ชัยวินิจ. (2556). “เกษตรอินทรีย์....วิถีสู่สังคมเกษตรยั่งยืน.” วารสารเพื่อการพัฒนาชน, เมษายน, 2556.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2557). การเติบโตของตลาดเกษตรอินทรีย์ในตลาดอาเซียน AEC.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 จาก, http://www.Ksme care com.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2557). INNO-VATION. .สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 จาก http://www.nawachione.or.th/activity/knowledge-center/bio-enegetic-organic-agriculture/.

สำนักมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. (2557). ระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 จาก, http://www.nia.or.th/innolinks/page.php.

สุณัฐนีย์ น้อยโสภา. (2558). “เกษตรอินทรีย์ : โอกาสการส่งออกของเกษตรกรไทยในตลาดโลก.” วารสารมหาวิทยาลัยธนบุรี. (9),1- 8 มกราคม-เมษายน 2558.