การบริหารจัดการอุปทานผลิตเศษแก้วโรงงานแปรรูปขวดแก้วเพื่อรีไซเคิล

Main Article Content

พงษธร เทพไกรวัล
อารีย์ นัยพินิจ
สุกานดา นาคะปักษิณ
ฐิติวรรณ ศรีเจริญ

บทคัดย่อ

     การศึกษาอิสระเรื่องการบริหารจัดการอุปทานของการผลิตเศษแก้ว การศึกษาวิจัยมุ่งเน้นศึกษาในกลุ่มธุรกิจโรงงานรับซื้อขวดแก้วและเศษแก้ว และผู้ประกอบการรายใหญ่ในพื้นที่ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งรับซื้อเศษแก้วและขวดแก้วจากผู้ขายรายที่รวบรวม และคัดแยกสีของแก้วมาแล้ว  โรงงานตัวอย่างแห่งนี้จะนำมาแปรรูปโดยผ่านกระบวนการผลิตโดยเครื่องจักรที่ทำการย่อยและคัดแยกสิ่งปะปนจนกระทั่งเหลือเฉพาะเศษแก้วที่เป็นสินค้านำส่งขายไปยังผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรับซื้อเศษแก้ว เพื่อนำไปหลอมและขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์และนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้จึงเพื่อศึกษาวิธีการบริหารจัดการอุปทานเศษแก้วของโรงงานตัวอย่างแห่งนี้ เพื่อหาแนวทางลดเวลาที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าระหว่างการทำงานของแผนกรับสินค้า โดยศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะที่ดีที่สุดของระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการลงสินค้าให้ใช้เวลาน้อยที่สุดเพื่อเป็นแนวทางกำหนดเวลามาตรฐานในการลงสินค้าของโรงงานตัวอย่างแห่งนี้  จากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัญหาของการจัดการระยะเวลาดำเนินการในกระบวนการรับสินค้านั้นใช้ระยะเวลายาวนานคิดเป็นร้อยละ 50 ของระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 
          ผลการศึกษาแนวทางการจัดการระยะเวลาดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยลดระยะเวลาในการดำเนินการลงสินค้าลงให้ได้ร้อยละ 50 ตามกรอบแนวความคิดเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายลดระยะเวลาลงสินค้า พบว่า  แนวทางการดำเนินการสามารถลดระยะเวลาลดระยะเวลาลงสินค้าได้เฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 55 ของระยะเวลาดำเนินการทั้งกระบวนการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562, จาก https://www.infofile.pcd.go.th/Waste/Wst2018.pdf

ธิติวัฒน์ ภินันท์ธนวัชร์. (2551). การบริหารอุปทานของอุตสาหกรรมเศษแก้วเพื่อการรีไซเคิล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

David, J. et al. (2015). Intention to Practice Reduce, Reuse & Recycle (3R) Among Expatriates Working in Malaysia. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 8(3), 276–295.