การจัดการด้านบัญชีของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้านบัญชี และปัจจัยในการจัดการความรู้ด้านบัญชีของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าของกิจการ ผู้จัดการ และพนักงานบัญชีจำนวน 310 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรพยากรณ์กับตัวแปรเกณฑ์ ด้วยวิธีการของเพียรสัน (Pearson) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพทั่วไปในการจัดการความรู้ด้านการทำบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านงบการเงินเป็นด้านที่สำคัญที่สุดในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รองลงมาเป็นด้านการทำบัญชี และด้านภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2) ปัจจัยในการจัดการความรู้ด้านบัญชีของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัจจัยที่มีค่าสูงสุดคือ การตรวจสอบงบการเงินก่อนนำส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง รองลงมาเป็นการเรียนรู้ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีความสามารถเก็บรวบรวมเอกสารการทำบัญชีได้ครบถ้วนสมบูรณ์ และการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวภาระหน้าที่ความรับผิดชอบก่อนการจัดทำบัญชี ตามลำดับ
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2560). คลังข้อมูลธุรกิจ สถิติการจดทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 2560.สืบค้นจาก https://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/menu/est/1.html
กัลย์ธีรา สุทธิญาณวิมล และนฤมล คุ้มพงษ์. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีของสถานประกอบการ ประเภทห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดวงธร คู่มาลา. (2556). การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ภาคอุตสาหกรรม ในจังหวัดสมุทรสาคร.(การค้นคว้าอสิระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).
พิรญาณ์ เฉลยบุญ. (2559). การจัดการปัญหาธุรกิจและคุณภาพรายงานทางการเงิน ของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ภัชภิชา จำปาเฟื่อง.(2549). การจัดการความรู้ของผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัย มหาสารคาม).
มณีขวัญ จันทรศร,มยูร บุญยะรัตน์, จารุพัสตร์ พลทรัพย์, พงศกร แก้วเหล็ก, ปิยะวดี จิระศิริสุวรรณ และ ศิริญา วงษ์ทิพย์. (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาแนวทางเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย. กรุงเทพฯ : สำนักเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง.
วรรษมน ทองรักษ์.(2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความน่าเชื่อถือของงบการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมุมมองนักวิเคราะห์สินเชื่อ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สาชล สตชลาสินธุ์. (2551). SMEs จะอยู่รอดต้องรู้เรื่องบัญชี. สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย, 17(1), 67-71.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว). (2560). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2560. สืบค้นจากhttps://www.sme.go.th/th/index.php/ knowledge-center/articles2/articles2-2/137-cat-research-2-2556
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Determining sample size for research activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.