แนวทางในการลงทุนและการตัดสินใจลงทุนในหุ้นและอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ภูฮั่ง“PHS” เวียดนาม

Main Article Content

PhanThiXiem Thanh
รุ่งนภา กิตติลาภ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการลงทุนและการตัดสินใจลงทุนในหุ้นและอนุพันธ์ของนักลงทุน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการลงทุนและการตัดสินใจลงทุนในหุ้นและอนุพันธ์ของนักลงทุนบริษัทหลักทรัพย์ภูฮั่ง – “PHS” เวียดนามและ 3) เพื่อเปรียบเทียบที่นักลงทุนใช้ในการตัดสินใจลงทุนในหุ้น จำแนกตามกลุ่มอาชีพ กลุ่มประเภทกิจการ กลุ่มวิธีการส่งคำสั่งซื้อ และกลุ่มประเภทตราสารใช้ตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)โดยวิธี Principal Component Analysis (PCA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบสองทาง (Two-ways Multivariate Analysis of Variance or Two-ways MANOVA) และทดสอบภายหลังเพื่อหาคู่ที่แตกต่างกันโดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)


          ผลการวิจัยพบว่า  สภาพทั่วไปในการลงทุนและการตัดสินใจลงทุนในหุ้นและอนุพันธ์ของนักลงทุนบริษัทหลักทรัพย์ภูฮั่ง“PHS”เวียดนาม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับดังนี้ด้านข้อมูลระดับมหภาคและภาวะทางเศรษฐกิจรองลงมาเป็น ด้านภาพลักษณ์และภาวการณ์แข่งขัน ด้านข้อมูลทางบัญชีด้านข้อมูลพื้นฐาน ตามลำดับ


          ปัจจัยในการลงทุนและการตัดสินใจลงทุนในหุ้นและอนุพันธ์ของนักลงทุนบริษัทหลักทรัพย์ภูฮั่ง“PHS” เวียดนาม ทั้งหมด 38 ตัวแปร องค์ประกอบทั้งหมดมีค่า KMO เท่ากับ .82  และปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายถึงความแปรปรวนได้ร้อยละ 66.08  ปัจจัยที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุดคือ ด้านผลตอบแทนในการลงทุน (20.72) รองลงมาเป็นด้านที่มาของการลงทุน (8.78) ด้านภาพลักษณ์ของบริษัท (6.49) ด้านเป้าหมายในการลงทุน (5.19) ปัจจัยที่อธิบายความแปรปรวนน้อยที่สุด คือ ด้านข้อมูลข่าวสาร (3.00)


          การเปรียบเทียบสภาพทั่วไปในการลงทุนและการตัดสินใจลงทุนในหุ้นและอนุพันธ์ของนักลงทุนบริษัทหลักทรัพย์ภูฮั่ง“PHS” เวียดนาม  จำแนกตามกลุ่มอาชีพ กลุ่มประเภทกิจการ กลุ่มวิธีการส่งคำสั่งซื้อ และกลุ่มประเภทตราสารพบว่า 1) ปฏิสัมพันธ์กลุ่มอาชีพ แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ด้านภาพลักษณ์และภาวการณ์แข่งขัน  รองลงมาเป็นด้านข้อมูลระดับมหภาคและภาวะเศรษฐกิจและด้านข้อมูลพื้นฐาน 2) ปฏิสัมพันพันธ์กลุ่มประเภทกิจการแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ด้านภาพลักษณ์และภาวการณ์แข่งขัน รองลงมาเป็นด้านข้อมูลทางบัญชีและด้านข้อมูลระดับมหภาคและภาวะทางเศรษฐกิจ 3) ปฏิสัมพันธ์กลุ่มวิธีการส่งคำสั่งซื้อแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ด้านข้อมูลทางบัญชีและด้านข้อมูลพื้นฐาน  4) ปฏิสัมพันธ์กลุ่มประเภทตราสารที่ลงทุนแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ด้านข้อมูลทางบัญชีและด้านข้อมูลพื้นฐานตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ศรีนวล. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการลงทุน และแรงจูงใจใน การลงทุน ที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศเวียดนาม. (2562). รายซื่อบริษัทหลักทรัพย์แห่งประเทศเวียดนาม.สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 จาก https://www.ssc.gov.vn/ubck/faces/vi/vimenu/vipages_vicsdlcty/ctychungkhoan?_adf.ctrl-state=mjcn1c6zz_4&_afrLoop=147221718987000&_afrWindowMode=&_afrWindowId=mjcn1c6zz_1#%40%3F_afrWindowId%3Dmjcn1c6zz_1%26_afrLoop%3D147221718987000%26_afrWindowMode%3D0%26_adf.ctrl-state%3Drq4uakby8_87.

นราศรี ไววนิชกุล . (2551). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บริษัทหลักทรัพย์ภูฮั่ง – “PHS”. (2562). ประวัติหลักทรัพย์.สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.phs.vn/

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

ปุญชรัสมิ์ บริรักษ์เจริญกิจ.(2556). กลยุทธ์การลงทุนและการตัดสินใจลงทุนในหุ้นและอนุพันธ์ของนักลงทุนรายย่อยในจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ,มหาวิทยาลัยทักษิณ).

พรรษกร จิรภิญโญ.(2559). ปัจจัยการลงทุนและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของนักลงทุนทั่วไปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ของโฮจิมินซิตี้. (2561). ประวัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม2559 จาก https://www.hsx.vn/

สง่า บรรจงประเสริฐ และ กนิยะ อิสริยะประชา. (2554). ผลการวิจัยโครงการวิจัยผู้ลงทุน. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม2559 จาก https://www.set.or.th/th/setresearch/research/Files_related_paper/forum201101_Presentation_InvestorSurvey.pdf

สรายุทธ กันหลง. (2555). การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม Cronbach's alpha. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2562 จาก https://www.ipernity.com

สัมฤทธิ์ จำนง. (2559).ภาพลักษณ์องค์กรและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).