การกำหนดแนวทางการลดระยะเวลาการรอคอยการให้บริการตรวจโรคทั่วไป ของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ไพรฑูรย์ ทิ้งแสน
อารีย์ นัยพินิจ

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง แนวทางการลดระยะการรอคอยการให้บริการตรวจโรคทั่วไป  ของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการให้บริการผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล และหาแนวทางการลดระยะเวลาการรอคอยในการให้บริการของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม ทำการศึกษาโดยวิธีสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ได้แก่  เจ้าหน้าที่เวชระเบียน พนักงานช่วยการพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาลงานห้องตรวจโรคทั่วไป พยาบาลงานห้องตรวจโรคทั่วไป และแพทย์ จำนวนฝ่ายละ 2 คน   ผลการศึกษาพบว่ามีกิจกรรมทั้งหมด 12 กิจกรรม ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรม 190 นาที มีอยู่ 3 กิจกรรมที่ทำให้เกิดการรอคอย ได้แก่  ขั้นตอนที่ 3 ผู้ป่วยรอจัดทำประวัติเวชระเบียน  ขั้นตอนที่ 7  รอพบแพทย์ และขั้นตอนที่12  รอรับยากลับบ้าน ซึ่งทั้ง 3 กิจกรรมมีระยะเวลาการรอคอย 146 นาที คิดเป็นร้อยละ 76.84 และแนวทางในการลดระยะเวลาการรอคอย  4 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 ลดระยะเวลาในการจัดทำเวชระเบียน แนวทางที่ 2 ลดระยะเวลาในการรอพบแพทย์ แนวทางที่ 3 ลดระยะเวลาในการรอรับยากลับบ้าน และแนวทางที่ 4 แนวทางการปรับปรุงกิจกรรมการให้บริการแบบรวม  จากการนำ 4 แนวทางมาใช้ พบว่า ผู้ป่วยใช้ระยะเวลารับบริการตรวจโรค ทั้งสิ้นเป็นเวลา  18 นาที  สามารถลดระยะเวลาการรอคอยได้ 172 นาที คิดเป็นร้อยละ 90.52  โดยสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องตรวจโรคทั่วไป ของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม  เฉลี่ย 48 รายต่อวัน และลดภาระการตรวจโรคของแพทย์ จากการตรวจโรควันละ 144  ราย ลดเหลือ 96 รายต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 33.33

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการผลิตชุดวิชาการบริการโรงพยาบาล. (2560). เอกสารเผยแพร่ การบริการด้านบริการทางการแพทย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562, จาก https://www2.gspa.buu.ac.th/l

คัทลิยา วสุธาดา. (2560). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. Journal of Phrapokklao Nursing College, 28(1), 80-89.

จุฑามาศ เรืองจุ้ย. (2559). การพัฒนางานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางเภสัชกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

เจริญศรี ชินวรากร. (2559). การปรับลดระยะเวลาการให้บริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 4(18), 661-741.

ธงชัย บรรจงกาลกุล. (2545). ประเมินการนำระบบมาตรฐานสากล มาตรฐานสากล ISO 9002 มาใช้ในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). การประเมินผลการพัฒนาระบบราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562, จาก www2.opdc.go.th

Hui, M. K., & Tse, D. K. (1996). What to tell consumers in waits of different lengths: An integrative model of service evaluation. Journal of Marketing, 60(2), 81-90.

Pope, M.S. (1996). The self-efficacy of family caregivers for helping cancer patients manage pain at end-of-life. Pain, 103(1-2), 105-162.

Scotland, NHS. (2000). "Our National Health: A plan for action, a plan for change" (PDF). Scottish Executive Health Department. Form: https://en.wikipedia.org/wiki/NHS_Scotland