ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านบัญชี ด้วยระบบ GFMIS ของหน่วยงานศาล ในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4

Main Article Content

ทิพย์ประภา สีชาเหง้า
รัชดา ภักดียิ่ง

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานด้านบัญชี ด้วยระบบ GFMIS และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านบัญชี ด้วยระบบ GFMIS ของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือพนักงานการเงินและบัญชีของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.959 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploration Factor Analysis; EFA) โดยหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method)


           ผลการวิจัยพบว่า  สภาพการปฏิบัติงานด้านบัญชี ด้วยระบบ GFMIS และปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านบัญชี ด้วยระบบ GFMIS ของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อทำการหมุนแกน (Varimax Orthogonal Rotation) พิจารณาค่า loading ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ค่า Factor loading ตั้งแต่ 0.65 ขึ้นไป ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาให้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านบัญชี ด้วยระบบ GFMIS ของศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 ประกอบด้วย 1. ด้านการใช้งานระบบ GFMIS 2. ด้านการจัดการระบบความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในระบบ GFMIS 3. ด้านความรู้ ความสามารถของบุคลากร 4. ด้านการสนับสนุนการปฏิบัติงาน 5.ด้านนโยบายในการปฏิบัติงาน 6.ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ของบุคลากร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทิยา อังกุรวัฒนานุกูล, เกสินี หมื่นไธสง, และวิษณุ สุมิตสวรรค์. (2557). ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงการปฏิบัติงานในระบบ GFMIS ที่มีต่อคุณภาพงบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(4), 51-59.

พัชรินทร์ ศิริทรัพย์.(2558). ผลกระทบการใช้ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS ที่มีผลต่อการรายงานคุณภาพรายงานการเงินของหน่วยงานราชการ :กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ภิรมย์พร เยาดำ. (2559). ประสิทธิภาพของระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS) ในเขตพื้นที่จังหวัดระนอง. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับ ด้านบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ 7, 25 มีนาคม 2559 (1365-1376) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

รัตนศิริ ยืนยัง และสุขเกษม ลางคุลเสน. (2560). ความรอบรู้งานการคลังที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของกองคลังสถาบันอุดมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 147-158.

วิไลลักษณ์ จิ้วเส้ง. (2555). ปัญหาและอุปสรรคการนำระบบบริหารการเงินและการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS มาใช้ :กรณีศึกษา กรมประมง. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)

สิริกร พรหมปิงกา. (2560). การนำเข้าข้อมูลความรู้ความสามารถของบุคลากรขีดความสามารถของเทคโนโลยีและการสนับสนุนของผู้บริหารส่งผลต่อประสิทธิผลของระบบ GFMIS. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10 (1), 49-64.

David, Fred D. Davis. (1989). Management Information Systems Research Center. Minnesota : University of Minnesota, 13(3), 319-340

Harikrishnan and Raveendran. (2013). Quality of Work Life and Job Satisfaction among Management Academic Professionals in State Private Universities of Jaipur Rajasthan. Journal of Management Value& Ethics, 3(1), 18-28.