แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร
สาลินี ชัยวัฒนพร
สุธีมนต์ ทรงศิริโรจน์
ภาคภูมิ ภัควิภาส
กัญญกาญจน์ ไซเออร์ส

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1946 – 1964 (พ.ศ. 2489 – 2507) โดยเน้นผู้ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 5 เขต ได้แก่ เขตวัฒนา เขตพญาไท เขตห้วยขวาง เขตจตุจักร และเขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 400 คน โดยศึกษาแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling Technique) การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้สถิติ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยการแจกแจงแบบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD หรือ Fisher’s Least – Significant Different ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 3.67 พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงจากด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมมีค่าเฉลี่ย 3.97 ด้านความพร้อมด้านทรัพยากรมีค่าเฉลี่ย 3.57 และด้านความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีค่าเฉลี่ย 3.51 ส่วนคุณภาพชีวิตของคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างน้อยมาก มีค่าเฉลี่ย 3.38 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับค่อนข้างน้อยมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาค่อนข้างน้อยดังนี้ ด้านการบริหารจัดการระบบพัฒนาคุณภาพชีวิตมีค่าเฉลี่ย 3.53 ด้านสุขภาพอนามัยมีค่าเฉลี่ย 3.45 ด้านการส่งเสริมอาชีพหรือรายได้ของผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ย 3.28 ด้านการอยู่ร่วมกันและการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านองค์กร ด้านผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ย 3.24 นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ มีระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านทรัพยากร ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ด้านความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน มีความแตกต่างกันในทุกด้านที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในแต่ละด้านสามารถอธิบายได้ดังนี้ 1) ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมนั้นควรเสนอแนะให้ชุมชนเป็นตัวกลางในการส่งเสริม และสนับสนุนให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยให้มีความคล่องตัวรวมถึงผลักดันให้มีการพัฒนา อีกทั้งควรวางแผนเรื่องของงบประมาณประจำปี สำหรับค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย 2) ด้านความพร้อมด้านทรัพยากร เสนอแนะให้ประธานชุมชนหรือในพื้นที่จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เพียงพอในการสนับสนุนด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยเช่น เครื่องมือทางการแพทย์ในเบื้องต้นเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น รถพยาบาลฉุกเฉิน เครื่องวัดความดันโลหิต ยาความดัน เป็นต้น 3) ด้านความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสนอแนะให้จัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้สูงอายุเพื่อเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน/โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่จะสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

Dr. Ratthanan Pongwiritton, graduated his first Bachelor Degree of Accountancy from Payap University in 2000. With his passion on education, he continued his studies and received another 7 Bachelor Degree (BBA, BPA, and LL.B), 2 Master Degree (MBA), MSc. Accounting and Finance Management and Ph.D. in Accounting, DBA. In 2012, he was appointed as Associate Professor in Business Research, School of Business Administration by Nobel University, Los Angeles, California, USA. He is currently a 
Independent researchers and 
Special instructor.

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พ.ศ.2560- 2569. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2562, จากhttp://www.dla.go.th/visit/stategics.pdf

ขวัญชนก กมลศุภจินดา. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการแสดงตัวตนของเจเนอเรชั่น:กรณีศึกษาความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์สและเจเนอเรชั่นวาย. (ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานกองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2562). แผนแม่บทพัฒนาแรงงานไทยในระยะ 5 ปี ฉบับทบทวนประจำปี พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER003/GENERAL/DATA0000/00000725.PDF.

สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์. (2562). สำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการรับชมสื่อภาพเคลื่อนไหวของคนไทย ปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562,จากhttps://broadcast. nbtc.go.th/data/academic/file/621100000002.pdf

Bunyarat, T., Kittilap, R., & Phakdeeying, R. (2018).Factors Affecting Job Performance Motivation of Government Saving Bank (GSB) Officers in Muang KhonKaen District, KhonKaen Province. NEU Academic and Research Journal, 9(2), 107-117.

Greedisgoods. (2560). Generation หรือ Gen คือ อะไร? (Marketing). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม2562, จาก https://greedisgoods.com/generation-E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/.

Manmin, P. (2015). Values and Media Usages of Generations Baby Boomer, X, and Y in Thailand. (Dissertation Philosophy Program in Communication Arts, Chulalongkorn University).

MICE Intelligence Center. (2562). ประชากรสูงวัยและแนวโน้มในอนาคต. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562, จาก https://intelligence.businesseventsthailand.com/th/insight/aging-trends-01-th.

Navarro, J. (2014). What everybody is saying. New York: William Morrow Paperbacks.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed). New York: McGraw-Hill.

Schiffman, L. G. & Wisenblit, Joseph. (2015). Consumer Behavior (11th Edition). The United States of American: Pearson.

Srinont, M. (2018). Theory of Generation and Cognitive Framework. MBU Education Journal : Faculty of Education Mahamakut Buddhist University, 6(1), 374-373.

Toomneenkran, S. (2018). The Presentation of Self Identity on Instagram: A Comparative Case Study of Generation X, Generation Y, and Generation Z. (Independent Study Master of Arts (Communication Arts), Bangkok University).