แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของสังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงเรียนสร้างสุข-ผู้สูงวัย ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการของการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงเรียนสร้างสุข – ผู้สูงอายุ ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาและนำเสนอข้อมูลการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงเรียนสร้างสุข – ผู้สูงอายุ ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงเรียนสร้างสุข – ผู้สูงอายุ ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 120 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลจากการวิจัย พบว่า การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ค่าเฉลี่ย 90.0) อายุ 61 – 65  ปี  (ค่าเฉลี่ย 60.8) ระดับการศึกษาประถมศึกษา (ค่าเฉลี่ย 73.3) กระบวนการของการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านบุคคล ด้านสังคม ด้านสถาบันสังคม ด้านกระบวนการถ่ายทอด ระดับอายุที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยรวมและด้านสภาพแวดล้อม ด้านบุคคล ด่านสังคม ด้านสถาบันสังคม ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านกระบวนการถ่ายทอด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยรวม ด้านสภาพแวดล้อม ด้านบุคคล ด้านสังคม ด้านสถาบันทางสังคม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านกระบวนการถ่ายทอดมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธงชัย พาบุ. (2552). การจัดการความรู้ธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ .(วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

นธกรรณ กันทายอด. (2557). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามแนวทางการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวงุ้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น ( พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พัฒนา สุขประเสริฐ. (2558). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ : ภาควิชาส่งเสริมและ นิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยศพร บันเทิงสุข (2556). การวิจัยแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมโดยการมี ส่วนร่วม ของชุมชนท้องถิ่นที่ชุมชนบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

เยาวเรศ แตงจวง. (2556). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร (PhetchabunRajabhat Journal), 16(2), 85-93.

ศิริลักษณ์ รื่นวงศ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลหัวงุ้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิตรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง).

สุมาลี สังข์ศรี. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(3) 99-100.

อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2549) ภูมิปัญญาท้องถิ่น. สุรินทร์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

เอกวิทย์ ณ ถลาง และคณะ. (2539). ภูมิปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย โครงการกิตติเมธี. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.