การศึกษาแนวทางการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

อาคีรา ราชเวียง
สมใจ ศรีเนตร
ธนิชชา ชัยชัชวาลประทีป
ทัศนีย์ สิงห์เจริญ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการด้านการบริหารงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์ และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นนักเรียนโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่า t-test และ F-test  ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโดยเน้นประโยชน์เชื่อมโยงแบบบูรณาการกับการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในโรงเรียนอย่างครอบคลุม 2) ความต้องการด้านบริหารงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.18, SD. = 0.40) และผลจากการเปรียบเทียบความต้องการพบว่านักเรียนที่มีเพศ อายุ ระดับชั้นการศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสม วัตถุประสงค์ในการใช้บริการสวนพฤกษศาสตร์ และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเข้าใช้บริการสวนพฤกษศาสตร์ต่างกัน ความต้องการด้านการดำเนินงานบริหารสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางในการพัฒนาสวนพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ 1) การนำพันธุ์ไม้มาปลูกในสวนพฤกษศาสตร์ 2) การกำหนดป้ายบอกตำแหน่งที่ชัดเจนทำให้ผู้ที่สนใจเข้าชมได้ง่าย 3) มีการลำดับและจัดกลุ่มพันธุ์ไม้ตามกลุ่มหรือภูมิภาคอย่างเหมาะสม 4) มีการจัดโต๊ะเก้าอี้เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาพันธุ์ไม้ได้มีจุดพักและศึกษาอย่างเต็มที่ในบริเวณที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา เรืองเดชสกุล. (2552). Story telling เรื่องกุญแจสู่ความสำเร็จในการทำงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561, จาก www.km.mut.ac.th/index.php?view=article.

ชวรัชช์ ชินอริยะฤทธิ์, อรพรรณ เพิ่มสุข และ อภิพงศ์ ปิงยศ. (2560). การพัฒนาเว็บไซต์และการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อการศึกษาข้อมูลพรรณไม้ในโครงการสวนพฤกษศาสตร์ของโรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์จังหวัดแพร่. รายงานสืบเนื่องจากประชุมวิชาการ The 5th ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2), 20-22 เมษายน, 2560. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธิดาวรรณ นาคเสน. (2556). รายงานการประเมินโครงสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน. อุดรธานี: โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์.

นราศรี ไววานิชกุล และ ชูศักดิ์ อุดมศรี. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยปภา จันทะปัสสา. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคลโรงเรียนบ้านดอนตูมดอนโด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 82-89.

บุญธรรม พัชรเลขกุล. (2557). รายงานวิจัยการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 23 (วัดโคกโหนด) ปีการศึกษา 2556. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561, จาก www.phatthalung2.go.th › myoffice › data tkk7

ภิรมย์ เตียงสกุล, พรทิพย์ ไชยโส และ ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2559). การประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(2), 240-253.

วัฒนา เตชะโกมล. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2562, จาก http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=136932&bcat_id=16

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2545, พฤศจิกายน). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. ผู้จัดการรายวัน สืบค้นเมื่อวันที 17 มกราคม 2562, จากhttp://www.rspg.or.th/botanical_school/index.htm.

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน. 2562. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นเมื่อวันที 17 มกราคม 2562, จาก http://www.rspg.or.th/botanical_school/index.htm.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Peter R. Crane, Stephen D. Hopper, Peter H. Raven and Dennis W. Stevenson. (2009). Plant science research in botanic gardens. Trends in Plant Science, 14(11), 575-577.

Richard B. Primack, Abraham J. and Miller‐Rushing. (2009). The role of botanical gardens in climate change research. New Phytologist, 182(2), 303-313.