กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ความคาดหวัง กำหนดกลยุทธ์ และตรวจสอบความเป็นไปได้ ความเหมาะสมความสอดคล้องและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ศึกษาธิการจังหวัด รองศึกษาธิการจังหวัด และผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่ม ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 77 แห่ง จำนวน 770 คน กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนตอน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครชชี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน ดังนี้ ศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 26 คน รองศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 26 คน และผู้อำนวยการกลุ่ม จำนวน 208 คน ดำเนินการวิจัยแบบวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าความต้องการจำ เป็นโดยวิธี Priority Need Index แบบปรับปรุง (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพ ความคาดหวัง การบริหารจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สภาพการปฏิบัติตามขอบข่ายงาน 8 ด้าน คือ ด้านอำนวยการ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านนโยบายและแผนด้านพัฒนาการศึกษา ด้านนิเทศ ติดตามและประเมินผล ด้านส่งเสริมการศึกษาเอกชน ด้านลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน และด้านตรวจสอบภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (= 4.50) ความคาดหวังโดยรวมด้านอำนวยการอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.64) นอกนั้นค่าความคาดหวังอยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าความต้องการจำเป็นโดยภาพรวมทุกด้าน มีค่า PNI Modified อยู่ระหว่าง 0.03 ถึง 0.15 โดยภาพรวม (0.12) 2) กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ด้านอำนวยการ มี 6 เป้าประสงค์ 11 กลยุทธ์ ด้านบริหารงานบุคคล มี 10 เป้าประสงค์ 17 กลยุทธ์ ด้านนโยบายและแผน มี 7 เป้าประสงค์ 15 กลยุทธ์ ด้านพัฒนาการศึกษา มี 9 เป้าประสงค์ 28 กลยุทธ์ ด้านนิเทศ ติดตาม และประเมินผล มี 8 เป้าประสงค์ 21 กลยุทธ์ ด้านส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน มี 4 เป้าประสงค์ 9 กลยุทธ์ ด้านกิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจกรรมนักเรียน มี 5 เป้าประสงค์ 14 กลยุทธ์ และด้านตรวจสอบภายใน มี 2 เป้าประสงค์ 7 กลยุทธ์ 3) ตรวจสอบกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ที่พัฒนาขึ้นด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในการนำไปปฏิบัติ พบว่ากลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการตามขอบข่ายงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทั้ง 8 ด้าน มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์(Analytical Thinking) (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ดิเรก ฟั่นเขียว. (2556). ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
ไพฑูรย์ แจ่มพันธ์. (2560). กลยุทธ์การบริหารระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที 40 ก. หน้า 14.
วัฒนา สายเชื้อ. (2561). กลยุทธ์การใช้หลักธรรมาภิบาลในงานวิชาการของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2555). การบริหารจัดการและการบริหารยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของรัฐ = Management administration and strategic administration of the state agencies. กรุงเทพฯ: โฟรเพช.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา : แนวคิดและกรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การวางแผนเชิงกลยุทธ์. เอกสารประกอบการอบรมการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการติดตามการดำเนินงาน การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพฯ: เพลิน สตูดิโอ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทยมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนนโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา). กรุงเทพฯ: เซ็นจูรี่.
อดิศร ก้อนคำ. (2563). กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).