การพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

ณัฐชรัตน์ แก้วก่า
วัฒนา สุวรรณไตรย์
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต1 2) หาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ 3) ติดตามผลการพัฒนาการงานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย 1 คน ผู้ร่วมวิจัย 38 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 7 คน ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน 2 วงรอบ ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานสู่ความสำเร็จ แบบประเมินการพัฒนางานสู่ความสำเร็จ แบบสัมภาษณ์การพัฒนางานสู่ความสำเร็จ และแบบสังเกตการพัฒนางานสู่ความสำเร็จ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควาย 2) แนวทางการพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควายดำเนินการตามกลยุทธ์การพัฒนางาน 5 กลยุทธ์ 20 ตัวชี้วัด 25 โครงการ 49 กิจกรรม 3) ผลการพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในโรงเรียนบ้านนาคอกควายพบว่า ผลการพัฒนางานสู่ความสำเร็จ อยู่ในระดับมากทุกกลยุทธ์ ผลการพัฒนาเป็นที่พอใจ สิ้นสุดการพัฒนากลยุทธ์ที่ 2 ถึง 5 ในวงรอบที่ 1 มีเพียงกลยุทธ์ที่ 1 การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน      ต้องออกแบบการพัฒนาเพิ่มขึ้นในวงรอบที่ 2 ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 2 มีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ85.03 และผลการพัฒนางานสู่ความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนประชารัฐในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษาปรับกระบวนการบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบตามกลยุทธ์ ส่งผลให้การจัดการศึกษาบรรลุตามความมุ่งหมายของโครงการโรงเรียนประชารัฐ ชุมชนมีความพึงพอใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). นโยบายด้านการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. Retrived from สืบค้นจาก https://obecplan.wordpsess.com (21 มีนาคม 2559)

________. (2559). โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ “โรงเรียน ประชารัฐ” เอกสารอัดสำเนา.

________. (2559). “สานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ (E5)”. สืบค้นจาก www.pracharathschool.go.th, 16 มีนาคม 2561.

________. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560- 2579. สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

________. (2559). โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ. (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www. สานพลังประชารัฐ.com/about-us/.

กฤตภัทร อรุณดี และคณะ. (2561). แนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่. วารสาร veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11 (2) 1284-1301.

จตุพล พิพัฒนกิจเจริญการ (2552). ประสิทธิภาพในการพัฒนางานที่ประสบความสำเร็จ. สืบค้นจาก www.polpacon7.ru.ac.th/downlood/article/.

ดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ. (2559). ประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ, (2556). ความฉลาดทางวัฒนธรรม : คุณลักษณะสำคัญของผู้นำในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 6.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). วิกฤตและทางออกในการบริหารและจัดการศึกษา (ไทย) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา. 1, 1 (มกราคม-เมษายน 2557).

นงนุช ผลาเลิศ และคณะ. (2561). สภาพและปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร Journal มหาราชภัฎอุดรธานี, 133-238.

พินิจ มีคำทอง และโกวิท แสนพงษ์. (2562). เทคนิคการวิเคราะห์สภาพการพัฒนาเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9 (3), 111-120.

ภาวิช ทองโรจน์. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้. (ออนไลน์) 2557 (6 กันยายน พ.ศ.2557)

ภูสุดา ภู่เงิน. (2560). แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่ง แก้วแดง. (2550). โรงเรียนนิติบุคคลหนังสือสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกคนต้องอ่าน. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2550). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาปรียบเทียบกับหลักการบริหาร และหลักการพัฒนา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิรินธรา คนอ้วน. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สมศักดิ์ สุวรรณสุขกุล และคณะ. (2560). แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนประชารัฐด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ปรด. มหาวิทยาลัยบูรพา วารสาร Journal 133-238.

Kemmis, S.,& McTaggart, R. (1988). The Action research planner. Australia: Deakin University.

Kemmis, S.,& McTaggart, R. (2000). Paticipatory Action research.In N.K. Denzin & Y.S. Lincoln (Eds.) Handbook of qualitative research 2nd ed. Thoundsand Oaks, Ca: Sage.

Kemmis, S. and McTaggart, R. (2000).The Action Research Reader. 3rd ed. Geelong, Victoria : Deakin University.

Press,Tania Lienert. (2000). Doing an Action Research evaluation. Stronger Families Learning Exchange. 1, 16-20