คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์
นีรนาท เสนาจันทร์
มัลลิกา เจแคน
ลักขโณ ยอดแคล้ว
วิภาภรณ์ ศรีหาธาตุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น และศึกษาเปรียบเทียบความต้องการคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของกิจการที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานด้านบัญชี และระยะเวลาในการดำเนินงานแตกต่างกันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตจังหวัดขอนแก่น คำนวณกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ตัวอย่าง 209 ราย เก็บตัวอย่างได้ 100 ราย คิดเป็น 47.85 % โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับตามแนวของ Likert Scale และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณา คือการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบ T-test, F- test หรือ One way ANOVA ซึ่งผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัตินักบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสารมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการบุคคล ด้านการจัดการองค์การ และด้านปัญญา  ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดขอนแก่น ที่มี อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ระยะเวลาในการดำเนินงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณสมบัตินักบัญชีที่พึงประสงค์แตกต่างกัน ยกเว้นด้าน เพศมีความคิดเห็นต่อคุณสมบัตินักบัญชีที่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ระบบคลังข้อมูล. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562, จาก http://datawarehouse.dbd.go.th/bdw /menu.est/1html.

ชลิดา ลิ้นจี่. (2557). ทักษะวิชาชีพของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. งานวิจัยคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ณัฎฐธิดา บุญราช. (2558). คุณลักษณะของนักบัญชีตามความต้องการของผู้ประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). สสว.คาด GDP SME ปี 63 โตร้อยละ 3.0-3.5 รับอานิสงส์โครงการรัฐฯ ตั้งเป้าช่วย ผปก.กว่า 380,000 ราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563, จาก https://mgronline.com /smes/detail/9630000002102.

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. (2543). หมวด 3 ผู้ทำบัญชี. เล่ม 117 (ตอนที่ 41 ก).

มณีวรรณ ศรีปาน, ภาคิน อนันตโสภณ และคณะ. (2561).คุณลักษณะของบัญชีบัณฑิตที่พึ่งประสงค์สำหรับสถานประกอบการในจังหวัดอุดรธานี.วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(1), 46-56.

วราภรณ์ ปาละมะ. (2556.) คุณลักษณะของนักบัญชีตามทัศนะของผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สกลพร พิบูลย์วงศ์. (2561). คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจ ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2560). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 3 ปรับปรุง 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561, จาก http://www.fap.or.th.

สิริมา บูรณ์กุศล และ ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก.(2559). คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษา ผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1 (The 1 967 stRUSNC). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ.